วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)

การสื่อสารผ่านดาวเทียมเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายประเภทหนึ่งที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อการสื่อสารระยะทางไกลและครอบคลุมพื้นที่กว้าง เช่น ส่งสัญญาณจากฟากหนึ่งไปยังอีกฟากหนึ่งของโลก ก่อให้เกิดการสื่อสารได้อย่างกว้างไกลไร้ขอบเขต แม้ในเขตพื้นที่ห่างไกล เช่น บริเวณหุบเขา มหาสมุทร โดยอาจเป็นสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณภาพ เสียง และการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ เป็นต้น

ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมประกอบไปด้วยสองส่วนหลัก คือ สถานีภาคพื้นดิน (Ground Segment) และสถานีอวกาศ (Space Segment) โดยที่สถานี ภาคพื้นดินประกอบด้วยสองสถานีคือ สถานีรับและสถานีส่ง ซึ่งการทำงานของทั้งสองสถานีนี้มีลักษณะคล้ายกัน
สถานีภาคพื้นดิน มีอุปกรณ์หลักอยู่ 4 ชนิดดังรายละเอียดต่อไปนี้
  1. อุปกรณ์จานสายอากาศ (Antenna Subsystem)
    มีหน้าที่ส่งสัญญาณและรับสัญญาณจากดาวเทียม
  2. อุปกรณ์สัญญาณวิทยุ (Radio Frequency Subsystem)
    มีหน้าที่รับส่งสัญญาณวิทยุที่ใช้งาน
  3. อุปกรณ์แปลงสัญญาณวิทยุ (RF/IF Subsystem)
    ประกอบด้วยสถานีส่งสัญญาณและสถานีรับสัญญาณ โดยด้านสถานีส่งถูกเรียกว่า ภาคแปลงสัญญาณขาขึ้น (Up Converter Part) ซึ่งทำหน้าที่แปลงย่านความถี่ที่ได้รับมาให้เป็นความถี่ที่ใช้กับงานระบบดาวเทียม จากนั้นส่งสัญญาณที่แปลงความถี่ให้ภาคขยายสัญญาณ เพื่อขยายให้เป็นสัญญาณความถี่สูง หลังจากนั้นนำส่งไปยังดาวเทียม และเช่นเดียวกันสำหรับด้านสถานีรับนั้นเรียกว่า ภาคแปลงสัญญาณขาลง (Down Converter Part) ทำหน้าที่คือแปลงสัญญาณที่ได้รับจากดาวเทียมไปเป็นความถี่ที่ใช้งาน จากนั้นส่งต่อให้ภาคแยกสัญญาณ (Demodulator) ต่อไป
  4. อุปกรณ์ผสมสัญญาณและแยกสัญญาณ (Modulator/Demodulator)
    มีหน้าที่แปลงข้อมูลที่ต้องการส่งผ่านดาวเทียมให้เป็นสัญญาณคลื่นวิทยุที่มีข้อมูลผสมอยู่ให้นำไปใช้งานได้

รูปที่ 1 แสดงจานดาวเทียมรับ-ส่งสัญญาณที่สถานีภาคพื้นดิน

สถานีอวกาศ (Space Segment) นั้น ประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้
  1. อุปกรณ์ขับเคลื่อนดาวเทียม (Propulsion Subsystem)
    ทำหน้าที่ทำให้ดาวเทียมหมุนและรักษาตำแหน่งไว้ด้วยก๊าซหรือพลังงานความร้อนจากไฟฟ้า
  2. อุปกรณ์ควบคุมดาวเทียม (Spacecraft control Subsystem)
    มีหน้าที่รักษาสมดุลของดาวเทียมเพื่อไม่ให้ดาวเทียมหลุดวงโคจรออกไปในอวกาศได้
  3. อุปกรณ์สื่อสาร (Electronic Communication Subsystem)
    มีหน้าที่รับสัญญาณจากสถานีส่งแล้วส่งต่อไปยังสถานีรับโดยมีช่องสัญญาณรับความถี่ขาขึ้น (Transponder) จากนั้นแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณความถี่ขาลง (Downlink Frequency) แล้วจึงส่งมายังสถานีรับภาคพื้นดินต่อไป
  4. อุปกรณ์พลังงานไฟฟ้า (Electrical Power Subsystem)
    มีหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์สื่อสารและภาคควบคุมต่างๆ บนดาวเทียมนอกจากนี้ยังเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในตัวเก็บประจุหรือแบตเตอรี่ (Battery) เพื่อสำรองไว้ใช้งาน
  5. อุปกรณ์สายอากาศ (Antenna Subsystem)
    ทำหน้าที่รับสัญญาณจากภาคพื้นดิน
  6. อุปกรณ์ติดตามและควบคุม (Telemetry Tracking and Command Subsystem: TT&C) มีหน้าที่ติดตามการ ทำงานของดาวเทียมและควบคุมรักษาตำแหน่งของดาวเทียมให้ถูกต้องเสมอโดยอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคม

รูปที่ 2 แสดงภาพสถานีอวกาศ

ระบบการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมนั้น มี 2 แบบ
แบบ C - Band จะส่งคลื่นความถี่กลับมายังโลกอยู่ในช่วงความถี่ 3.4 - 4.2 GHz ซึ่งจะมีฟุตปริ้นท์ ที่มีขนาดกว้าง ครอบคลุมพื้นที่ การให้บริการได้หลายประเทศ เช่น ของดาวเทียมไทยคม 2/5 พื้นที่ให้บริการ คือทวีปเอเชีย และยุโรปบางส่วน (สมนึก ธัญญา วินิชกุล, 2549 : 10)
  • ข้อดี : การใช้ดาวเทียมระบบนี้เหมาะที่จะใช้ในประเทศใหญ่ๆ เพราะครอบคลุมพื้นที่การให้บริการได้หลายประเทศ ซึ่งใช้ดาวเทียมหนึ่งดวง ก็ถ่ายทอดสัญญาณได้ ทั่วประเทศและยังถึงประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงด้วย เช่น จีน, อินโดนีเซีย, เวียดนาม เป็นต้น
  • ข้อเสีย : เนื่องจากส่งครอบคลุมพื้นที่กว้างๆ ความเข็มของสัญญาณจะต่ำ จึงต้อง ใช้จาน 4 - 10 ฟุต ขนาดใหญ่รับสัญญาณภาพจึงจะคมชัด
แบบ KU - Band จะส่งคลื่นความถี่ 10 - 12 GHz สูงกว่าความถี่ C-Band สัญญาณ ที่ส่งจะครอบคลุมพื้นที่ได้น้อย จึงเหมาะสำหรับการส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ (สมนึก ธัญญาวินิชกุล, 2549 : 11)
  • ข้อดี : ความเข้มของสัญญาณสูงมาก ใช้จานขนาเล็กๆ 60 - 120 เซนติเมตร ก็สามารถรับสัญญาณได้แล้ว เหมาะสำหรับส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ เช่น สัญญาณ CABLE TV (UBC)
  • ข้อเสีย : ฟุตปริ้นท์ระบบ KU-Band จะแคบ ส่งเฉพาะจุดที่ต้องการ ครอบคลุมพื้นที่ได้น้อยทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ปัญหาในการรับสัญญาณภาพ เวลาเกิดฝนตกภาพจะไม่มี สาเหตุเนื่องมาจากความถี่ของ KU-Band จะสูงมากเมื่อผ่านเมฆฝน
ชนิดของดาวเทียมแบบต่างๆ
ดาวเทียมที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโครจรเหนือผิวโลก ขณะนี่มีมากกว่า 200 ดวง ซึ่งโคจร อยู่ที่ ณ ตำแหน่งต่างๆบนท้องฟ้า ดาวเทียมที่ส่งขึ้นไปเหนือผิวโลกนี้สามารถ แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ของลักษณะการโครจรเหนือผิวโลก
  1. ดาวเทียมแบบโครจรตามยถากรรม
    เป็นดาวเทียมรุ่นแรกๆ ที่มนุษย์ส่งขึ้นไปโครจรเหนือพื้นผิวโลก สมัยก่อนนั้นระบบเทคโนโลยี ของการส่ง และการควบคุมดาวเทียมนั้นยังไม่ดีเท่าทีควร ดาวเทียมแบบนี้ แต่ละดวงจะมีวงโครจรเป็นของตัวเองต่างจากดวงอื่นๆ และระดับความสูงแต่ละดวงจะแตกต่างกัน และเป็นดาวเทียมที่บังคับวงโครจรและระดับความสูงไม่ได้
  2. ดาวเทียมแบบเฟส
    เป็นดาวเทียมที่มีวงโครจรแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ที่จะให้ดาวเทียมนั้นๆโครจรผ่าน ณ ตำแหน่งใดๆเหนือพื้นโลก เช่น โครจรเหนือเส้นศูนย์สูตร โครจรเอียง 30องศา โครจรผ่านขั้วโลกเหนือหรือขั้วโลกใต้เป็นต้น ดาวเทียมแบบนี้เป็นดาวเทียมที่บังคับวงโครจรได้ เช่น ดาวเทียมสำรวจทรัพยากร ดาวเทียมจารกรรม เป็นต้น
  3. ดาวเทียมแบบโครจรอยู่กับที่
    เป็นดาวเทียมที่ใช้เพื่อการสื่อสาร โดยมนุษย์ส่งขึ้นไปให้มีระดับความสูงประมาณ 35,860 กิโลเมตร เหนือพื้นโลก รอบเส้นศูนย์สูตร (รอบ เส้นรุ้งที่ 0 องศา ) และมีความเร็วในการโครจรรอบโลกครบหนึ่งรอบเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบเช่นกัน ดังนั้นเมื่อเราสังเกตดูดาวเทียมดวงใดดวงหนึ่ง ณ จุดใดจุดหนึ่งพื้นโลกเป็นเวลาหนึ่ง จึงดูเสมือนว่าดาวเทียมดวงเรามองอยู่นั้นลอยนิ่งอยู่กับที่ ไม่มีการเคลื่อนที่. สมัยที่ท่านเรียนหนังสือ ท่านคุณครูบ้างท่านอาจเรียกดาวเทียมชนิดนี้ว่า " ดาวเทียมค้างฟ้า " ดาวเทียมแบบนี้เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร
การโคจรของดาวเทียม

แบ่งลักษณะวงโคจรออกเป็น 3 ประเภท คือ
  1. Polar Orbit เป็นการโคจรมีรูปร่างเป็นวงกลม โดยมีลักษณะวงโคจรอยู่ในแนวขั้วโลก
  2. Inclined Orbit เป็นวงโคจรมีทำมุมเอียงกับเส้นศูนย์สูตรในมุมต่าง ๆ
  3. Equatorial Orbit เป็นวงโคจรทีอยู่ในระนาบเดียวกับเส้นศูนย์สูตรรูปแบบของจานดาวเทียม
รูปแบบของจานดาวเทียม
ปัจจุบันสัญญาณดาวเทียม ที่ครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทย มีมากกว่า 20 ดาวเทียม การติดตั้งจานรับสัญาณดาวเทียม ที่ใช้กันอย่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ
  1. จานแบบมูฟสามารถเคลื่อนที่
    โยกย้ายที่คอจานจะมีมอเตอร์เพื่อทำหน้าที่ดันหน้าจานให้เคลื่อนที่ ไม่ล็อคตายตัว โดยการสั่งงานผ่านรีโมทคอนโทรลไปยังที่เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อควบคุมการเคลื่อนของมอเตอร์ ให้ไปตามตำแหน่งของดาวที่เราต้องการ ซึ่งดาวเทียมที่รับได้ในประเทศไทย ในปัจจุบัน มีมากกว่า 15 ดวง โดยขนาดของจาน จะมีตั้งแต่ 6 ฟุต - 10 ฟุต จานดาวเทียมแบบมูฟมีทั้งระบบ C-Band และ KU-Band
  2. จานแบบฟิกซ์ยึดอย่กับที่
    เป็นจานที่ออกแบบมาสำหรับติดตั้งเพื่อรับดาวเทียมแค่ดวงเดียว ฟิกซ์อยู่กับที่โดยจะรับดาวเทียมดวงไหนก็ตั้งหน้าจานหันรับไปทางดาวเทียมดวงนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ แต่โดยส่วนใหญ่จะรับดาวเทียมไทยคม 2/3 เพื่อรับชมทีวีไทย 3 5 7 9 11 ITV และยังสามารถดูต่างประเทศได้ 50 กว่าช่อง เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ติดเสาอากาศไม่ชัด จานดาวเทียมแบบ Fix มีทั้งระบบ C-Band และ KU-Band
ดาวเทียมที่ใช้ในประเทศไทย

  1. ดาวเทียมไทยคม ดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติ
    บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ปี 2534 บริษัท ชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ได้รับสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารแห่งชาติของกระทรวงคมนาคมเป็นเวลา 30 ปี โดยได้รับ การคุ้มครองสิทธิเป็นเวลา 8 ปี ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้พระราชทานนามดาวเทียมของ โครงการอย่างเป็นทางการว่า "ไทยคม" (THAICOM) เพื่อเป็นสัญลักษณ์เชื่อมโยงประเทศไทย กับเทคโนโลยี สื่อสารใหม่ และในปีเดียวกันกลุ่มชินวัตรได้จัดตั้ง บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัดเพื่อดำเนินการโครงการ โดยทำหน้าที่จัดสร้างจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมและบริหารโครงการ ดาวเทียมไทยคมตลอดอายุสัมปทาน นอกจากนี้บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ในวันที่ 18 มกราคม 2537 และ ต่อมาในปี 2542 บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)ได้เปลี่ยน ชื่อเป็น "บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)" ปัจจุบันบริษัทฯ ประสบความสำเร็จในการจัดส่งดาวเทียม ไทยคม 1A, 2 และ 3 เข้าสู่วงโคจรในปี 2536, 2537, และ 2540 ตามลำดับ โดยดาวเทียมไทยคม 1A และ2 ซึ่งเป็นดาวเทียมรุ่นHS-376 สามารถให้บริการของช่องสัญญาณจำนวน 28 ทรานสพอนเดอร์แบ่งเป็นย่าน ความถี่ C-Band 22 ทรานสพอนเดอร์และ Ku-Band 6 ทรานสพอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 3 ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรอวกาศเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2540 ดาวเทียมไทยคม 3 เป็น ดาวเทียมรุ่น Spacebus-3000A ซึ่งมีขนาดใหญ่และกำลังส่งสูงมาก ประกอบด้วยช่องสัญญาณย่านความถี่ C-Band จำนวน 25ทรานสพอนเดอร์ มีพื้นที่บริการครอบคลุมสี่ทวีป คือเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกานอกจากนี้ยังมีช่องสัญญาณย่าน ความถี่ Ku-Band 14 ทรานสพอนเดอร์ โดยแบ่งเป็น Fix Spot Beam ซึ่งมีพื้นที่บริการครอบคลุมประเทศ ไทยและประเทศในภูมิภาพอินโดจีน SteerableSpot Beam ครอบคลุมพื้นที่ประเทศอินเดีย

  2. ดาวเทียมไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ (IPSTAR)
    ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานด้าน อินเทอร์เน็ต โปรโตคอล (Internet Protocol) หลังจากที่ปล่อยขึ้นสู่อวกาศไปเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2548 ที่ผ่านมา โดยบริการบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมจะทำให้พื้นที่ ห่างไกล มีโอกาสได้ใช้เช่นเดียวกับคนในเมืองหลวง เพียงมีแค่จานรับสัญญาณดาวเทียมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 84 -120 ซม. และแซทเทลไลท์โมเด็ม เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ก็ใช้งานได้ทันที ทำลายข้อจำกัดและเติมเต็มช่องว่างทางดิจิตอล เพราะไม่จำเป็นต้องรอเดินโทรศัพท์ สร้างชุมสาย และตั้งเสาสัญญาณที่มีราคาแพงๆ

  3. ดาวเทียมไทพัฒ
    ดาวเทียม “ไทพัฒ” มีขนาด 35 x 35 x 60 ซม3 น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม โคจรรอบโลกเป็นแบบวงโคจรต่ำ (Low earth orbit) มีความสูงเฉลี่ยจากผิวโลก 815 กิโลเมตร ในแนวที่ผ่านขั้วโลกเหนือและ ใต้ การโคจรแต่ละรอบใช้เวลา 101.2 นาที ทำให้โคจรรอบโลกได้วันละ 14.2 ครั้ง แต่ละครั้งของการโคจรจะผ่านเส้นแวงที่เลื่อนออกไปประมาณ 25 องศา ทำให้ดาวเทียมไทพัฒมีการโคจรผ่านทุกพื้นที่ในโลก และจะผ่านประเทศไทยทุกวันเวลาประมาณ 8.30-12.30 น. 2-3 ครั้ง และเวลา 20.30-00.30 น. 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งมีเวลาให้สถานีภาคพื้นดินติดต่อ กับดาวเทียมประมาณ 17 นาที 

  4. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
    เป็นดาวเทียมซึ่งใช้ในการตรวจวัดข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถตรวจวัดข้อมูลอากาศในที่ ๆ มนุษย์ไม่สามารถทำการตรวจวัดได้โดยตรงจากเครื่องมือตรวจอากาศชนิดอื่น ๆ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้อยู่ในที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงได้
    รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=65
  5. ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ
    ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติมาถูกนำมาใช้ในการ สำรวจเรื่องต่างๆ ทั้งทรัพยากรน้ำ ธรณีวิทยา การเกษตร การใช้ที่ดิน ป่าไม้ การวาง ผังเมือง หรือภัยพิบัติ ซึ่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็มีหลายดวงด้วยกัน เช่น IKONOS QUICKBIRD RADASAT-1 LANDSAT-5, 7 SPOT 5 IRS-1C และล่าสุดในปีพ.ศ. 2550 ประเทศไทยได้ส่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรสัญชาติไทย ดวงแรกขึ้นโคจรในอวกาศ นั่นคือ ดาวเทียม THEOS
    รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ http://www.engineeringtoday.net/magazine/articledetail.asp?arid=3065&pid=301
การประยุกต์ใช้ระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม
  1. ระบบงานธนาคารนำเอาระบบสื่อสารดาวเทียมมาใช้ได้แก่อะไรบ้าง

    • ระบบเงินฝากถอนโอนที่สาขา
    • ระบบตรวจสอบบัตรเครดิต
    • ระบบเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ
    • ระบบบริหารงานสาขาและระบบสำนักงานอัตโนมัติ

  2. ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมในธุรกิจค้าขายหลักทรัพย์
    ช่วยให้การส่งข้อมูลข่าวสาร เช่น ราคาเสนอซื้อขายไปสู่นักลงทุนในห้องค้าต่างจังหวัด เป็นไปอย่างรวดเร็วทั่วประเทศ
    นักลงทุนในห้องค้าต่างจังหวัดสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้เช่นเดียวกับนักลงทุนในกรุงเทพฯระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ผ่านดาวเทียม

  3. วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เป็นการนำระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมมาใช้ในการสื่อสารภาพ เสียงและข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการประชุมทางธุรกิจหรือสัมมนาระยะไกลระหว่างกลุ่มบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ให้สามารถ ร่วมประชุมสนทนาโต้ตอบกันได้พร้อมทั้งเห็นภาพผู้เข้าร่วมประชุม และยังสามารถแสดงภาพต่างๆ ประกอบ การประชุมได้อีกด้วย นอกเหนือจากการประชุมหรือสัมมนาแล้ววีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ยังสามารถนำไปใช้ ในการฝึกอบรม แก้ปัญหาลูกค้า และช่วยสนับ สนุนการนำเสนอสินค้าได้
  4. ด้านโทรทัศน์
    สถานีแม่ข่ายสามารถส่งรายการผ่านดาวเทียม ไปยังสถานีเครือข่ายหรือสถานีทวนสัญญาณ เพื่อออกอากาศแพร่ภาพต่อในเขตภูมิภาค สามารถทำการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมได้โดยอุปกรณ์เคลื่อนที่
  5. ด้านวิทยุกระจายเสียง
    สามารถถ่ายทอดสัญญาณไปมาระหว่างสถานีวิทยุจากภูมิภาคที่ห่างไกลกัน เพื่อรวบรวมข่าวสาร รวมทั้งแพร่สัญญาณถ่ายทอดต่อ ณ สถานีทวนสัญญาณ
  6. ด้านโทรศัพท์
    สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายโทรศัพท์จากชุมสายต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ห่างไกลเข้ากับเครือข่ายโทรศัพท์ ทำให้การสื่อสารสะดวก สามารถส่งผ่านได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพ


ขอขอบคุณข้อมูลจากแหล่งที่มาดังต่อไปนี้
1. http://www.thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/Principle_of_Satellite_Communications/index.php
2. http://www.bkkcabletv.com/
3. http://trirong.paktho.ac.th/learning/digital-lib/snet7/vsat1.htm

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Data Mining

Data Mining คืออะไร?
  • Data Mining คือ การสืบค้นความรู้ที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจบนฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Knowledge Discovery from very large Databases : KDD ) เป็นเทคนิคที่ใช้จัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ โดยจะนำข้อมูลที่มีอยู่มาวิเคราะห์แล้วดึงความรู้ หรือสิ่งสำคัญออกมา เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ หรือทำนายสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งการค้นหาความรู้ ความจริงที่แฝงอยู่ในข้อมูล ( Knowledge Discovery) เป็นกระบวนการขุดค้นสิ่งที่น่าสนใจในกองข้อมูลที่เรามีอยู่
  • Data Mining มีความหมายแตกต่างกันใน 2 แง่มุม คือ ในมุมมองทางวิชาการและในมุมมองเชิงธุรกิจ ในมุมมองเชิงวิชาการนั้น นักวิจัยจะอ้างถึงกระบวนการทั้งหมดในการทำ Data Mining ว่า “Knowledge discovery in database (KDD)” และใช้คำว่า “Data Mining” แทนขั้นตอนขั้นหนึ่งของกระบวนการ ที่เกี่ยวข้องกับการค้นหารูปแบบ ความสัมพันธ์ของข้อมูลเท่านั้น ในแง่มุมเชิงธุรกิจแล้ว จะใช้คำว่า “Data Mining” แทนความหมายของ ขั้นตอนทั้งหมด
วิวัฒนาการของ Data Mining
  • ปี 1960 Data Collection คือ การนำข้อมูลมาจัดเก็บอย่างเหมาะสมในอุปกรณ์ที่น่าเชื่อถือ และป้องกันการสูญหายได้เป็นอย่างดี
  • ปี 1980 Data Access คือ การนำข้อมูลที่จัดเก็บมาสร้างความสัมพันธ์ต่อกันในข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการนำไปวิเคราะห์และการตัดสินใจอย่างมีคุณภาพ
  • ปี 1990 Data Warehouse & Decision Support คือ การรวบรวมข้อมูลมาจัดเก็บลงไปในฐานข้อมูลขนาดใหญ่โดยครอบคลุมทุกแง่ทุกมุมขององค์กร เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
  • ปี 2000 Data Mining คือ การนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาวิเคราะห์และประมวลผล โดยการสร้างแบบจำลอง และความสัมพันธ์ ทางสถิติ
ข้อแตกต่างระหว่างระบบฐานข้อมูล กับ Data Mining
  • ระบบ Data Mining เราไม่ต้องเป็นคนกำหนดคำสั่ง (เช่น SQL) เพื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการ แต่ระบบ Data Mining จะมีขบวนการ/วิธีการ (ซึ่งปกติจะเป็น machine learning tools) เพื่อทำหน้าที่นี้ นั่นคือเราแค่บอกว่าเราต้องการอะไร (what to be mined) แต่ไม่จำเป็นต้อง ระบุว่า ทำอย่างไร (How to mine)
  • ระบบฐานข้อมูลทั่วไป จะบังคับให้เราต้องทำทั้งสองหน้าที่นี้ คือคิดก่อนว่าจะ ค้นหาอะไรแล้วก็ไปประดิษฐ์คำสั่ง SQL เพื่อค้นหาข้อมูลนั้น ดังนั้นถ้าเราคิดไม่รอบคอบ หรือคิดดีแล้วแต่แปลเป็นคำสั่งผิด ก็จะได้ข้อมูลผิดๆ หรือไม่ตรงกับความต้องการ
หลักการของ Knowledge Discovery from very large Databases (KDD) และ Data Mining      จากที่ Data Mining เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการค้นหาลักษณะแฝงของข้อมูล ที่มีประโยชน์ในฐานข้อมูล (Knowledge Discovery in Database : KDD) กระบวนการของ KDD นั้นประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
  1. การคัดเลือกข้อมูล (Data Selection) ที่จะนำมาใช้ในการทำ mining รวมถึง การนำข้อมูลที่ต้องการออกมาจากฐานข้อมูลเพื่อทำการพิจารณาในเบื้องต้นว่าควรจะเลือกข้อมูลใดมาใช้งาน
  2. การกรองข้อมูล (Data Cleaning) เป็นการกรั่นกรองข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกไปจากกลุ่มข้อมูลที่เลือกใช้ ทำให้มั่นใจในคุณภาพของข้อมูลว่าถูกต้องและตรงตามความต้องการ
  3. การแปลงรูปแบบข้อมูล (Data Transformation) เป็นการแปลงข้อมูลที่เลือกมาให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการนำไปใช้วิเคราะห์ตามอัลกอริทึม (Algorithm) และแบบจำลองที่เลือกใช้ในการทำ data mining
  4. การทำ Mining ข้อมูล (Data Mining) การใช้เทคนิคภายใน Data Mining เพื่อทำการ Mine ข้อมูล โดยทั่วไป ประเภทของงานตามลักษณะของแบบจำลองที่ใช้ในการทำ Data Mining นั้นสามารถแบ่งกลุ่มได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

    • Predictive Data Mining คือ เป็นการคาดคะเนลักษณะหรือประมาณค่าที่ชัดเจนของข้อมูลที่จะเกิดขึ้น โดยใช้พื้นฐานจากข้อมูลที่ผ่านมาในอดีต
    • Descriptive Data Mining คือ เป็นการหาแบบจำลองเพื่ออธิบายลักษณะบางอย่างของข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะการแบ่งกลุ่มให้กับข้อมูล

     
  5. การวิเคราะห์และประเมินผลลัพธ์ที่ได้ (Result Analysis and Evaluation) เป็นขั้นตอนการแปลความหมาย และการประเมินผลลัพธ์ที่ได้ว่ามีความเหมาะสมหรือตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่
ส่วนประกอบของ Data Mining สถาปัตยกรรมของระบบการทำ Data Mining ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักดังภาพที่ 1
  1. Database, Data Warehouse, World Wide Web และ Other Info Repositories เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการทำ Data Mining
  2. Database หรือ Data Warehouse Server ทำหน้าที่นำเข้าข้อมูลตามคำขอของผู้ใช้ Knowledge Base ได้แก่ ความรู้เฉพาะด้านในงานที่ทำจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบค้น หรือประเมิน
  3. Data Mining Engine เป็นส่วนประกอบหลักของการทำ Data Mining ประกอบด้วยโมดูลที่รับผิดชอบงาน Data Mining ประเภทต่างๆ ได้แก่ การหากฎความสัมพันธ์ เงื่อนไข การจำแนกประเภท การจัดกลุ่ม
  4. Pattern Evaluation Module ทำงานร่วมกับ Data Mining Engine โดยใช้มาตรวัดความน่าสนใจในการกลั่นกรองรูปแบบผลลัทธ์ที่ได้ เพื่อให้การค้นหามุ่งเน้นเฉพาะรูปแบบที่น่าสนใจ
  5. Graphic User Interface ส่วนติดต่อประสานระหว่างผู้ใช้กับระบบ Data Mining ช่วยให้ผู้ใช้สามารถระบุงาน Data Mining ที่ต้องการทำ ดูข้อมูลหรือโครงสร้างการจัดเก็บข้อมูล ประเมินผลลัพธ์ที่ได้
ประเภทข้อมูลที่ใช้ทำ Data Mining
  • Relational Database เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในรูปแบบของตาราง โดยในแต่ละตารางจะประกอบไปด้วยแถวและคอลัมน์ ความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมดสามารถแสดงได้โดย Entity Relationship Model
  • Data Warehouses เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งมาเก็บไว้ในรูปแบบเดียวกันและรวบรวมไว้ในที่ๆ เดียวกัน
  • Transactional Database ประกอบด้วยข้อมูลที่แต่ละทรานเเซกชันแทนด้วยเหตุการณ์ในขณะใดขณะหนึ่ง เช่น ใบเสร็จรับเงิน จะเก็บข้อมูลในรูปชื่อลูกค้าและรายการสินค้าที่ลูกค้ารายซื้อ
  • Advanced Database เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บในรูปแบบอื่นๆ เช่น ข้อมูลแบบ Object-Oriented ข้อมูลที่เป็น Text File ข้อมูลมัลติมีเดีย ข้อมูลในรูปของ Web
Data Mining Tools and Technologies
  1. Neural Network
    เป็นการเลียนแบบการทำงานของระบบประสาทในสมองของมนุษย์ (ระบบประสาทเทียม) การทำงานของ neural networks คือ เมื่อมี input เข้ามายัง network ก็เอา input มาคูณกับ weight ของแต่ละขา ผลที่ได้จาก input ทุกๆ ขาของ neuron จะเอามารวมกันแล้วก็เอามาเทียบกับ threshold ที่กำหนดไว้ ถ้าผลรวมมีค่ามากกว่า threshold neuron ก็จะส่ง output ออกไป output นี้ก็จะถูกส่งไปยัง input ของ neuron อื่นๆ ที่เชื่อมกันใน network ถ้าค่าน้อยกว่า threshold ก็จะไม่เกิด output
  2.        
    ตัวอย่างคำสั่ง if (sum(input * weight) > threshold) then output


     
    ค่า weight และ threshold เป็นสิ่งสำคัญสำหรับวิธีการนี้ ซึ่งเราไม่รู้ว่ามันมีค่าเท่าไหร่แน่ แต่เราสามารถกำหนดค่า output ที่ถูกต้องให้กับ Pattern ของสิ่งที่เราต้องการให้มันรู้จำหลาย ๆ แบบ จากนั้นคำนวณหา Error ของ output ที่ได้จากการคำนวณด้วยค่า weight และ threshold เริ่มต้น เทียบกับค่า Output ที่ถูกต้อง แล้วนำค่า Error ที่ได้ไปปรับค่า weight/threshold จนกระทั่งได้ Output ที่ต้องการ เรียกว่า "back propagation" ซึ่งเป็นกระบวนการย้อนกลับของการรู้จำ ยิ่งเราสอนให้คอมพิวเตอร์รู้จัก pattern หลาย ๆ แบบของสิ่ง ๆ เดียวก็จะยิ่งทำให้ค่า weight และ threshold ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
    ตัวอย่าง :
    การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) ของธนาคารแห่งอเมริกา (Data Mining at Bank of America) ธนาคารแห่งอเมริกา (Bank of America : BofA) ได้มีการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายเส้นประสาทในซอฟต์แวร์เหมืองข้อมูล (Data Mining Software) ที่พัฒนาให้มีความมั่นคงในตลาดและการตั้งราคาสินค้าทางการเงิน เช่น การกู้เงินเพื่อที่อยู่อาศัย จากแหล่งเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถเสนอชุดสินค้า (Product Packages) ได้มากมาย โดยการปรับค่าธรรมเนียม อัตราดอกเบี้ย และลักษณะการทำงาน ผลที่ได้คือจำนวนที่ทำให้เกิดกลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับการเข้าถึงผลประโยชน์ของลูกค้า

     
  3. Decision Tree
    เป็นการนำข้อมูลมาสร้างแบบจำลองเพื่อการตัดสินใจแบบ Tree ซึ่งการที่จะตัดสินใจทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่มี โดยเงื่อนไขก็จะประกอบไปด้วยตัวแปรต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยในการตัดสินใจ
    Decision Tree จะประกอบด้วย ราก (Root) เป็นจุดเริ่มต้นของลำดับการตัดสินใจ ถัดมาจะเป็น Node ซึ่งเป็นกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ คือเงื่อนไขของระบบ สุดท้ายจะเป็น Leaf ซึ่งจะหมายถึงการกระทำหรือการปฏิบัติตามเงื่อนไข


  4.  
    จากตัวอย่างโครงสร้าง Decision Tree ในข้างต้นจะเห็นว่าการเลือกใช้เทคนิค Decision Tree เงื่อนไข ต้องมีมากกว่า 1 เงื่อนไข และการกระทำที่ถูกเลือกจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผ่านมาด้วย

     
    ข้อจำกัดของ Decision Tree- การแบ่งกลุ่มแบบ Decision Tree กรณีเป็นข้อมูลที่มีค่าต่อเนื่อง เช่น ข้อมูลรายได้ ข้อมูลราคา ต้องทำการแปลงให้อยู่ในช่วงหรือตัดเป็นกลุ่มก่อน
    - เมื่อ Algorithm เลือกว่าจะใช้ค่าไหนเป็นตัวแบ่งกลุ่มแล้วก็จะไม่สนใจค่าอื่นที่อาจมีความสำคัญเช่นเดียวกัน
    - การจัดการกับข้อมูลที่ไม่ทราบค่า อาจมีผลกระทบกับผลลัพธ์ของ Decision Tree
    - Tree ที่มีระดับชั้นมากเกินไป จะทำให้ข้อมูลที่ผ่าน Node แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งข้อมูลเหล่านั้น จะไม่มีประโยชน์ในการนำมาใช้ทำการวิเคราะห์
    - ปัญหาเรื่อง Over fitting / Overtraining เกิดจากการที่แบบจำลองได้เรียนรู้เข้าไปถึงรายละเอียดของข้อมูล มากเกินไปจะทำให้เกิด Node ที่เป็นส่วนเฉพาะเจาะจงกับกลุ่มข้อมูลที่ใช้ในการเรียนรู้ ซึ่งจะต้องหาวิธี การในการตัดกิ่งนี้ออกไป
    ภาพที่ 4 แสดงตัวอย่างการวิเคราะห์อาการของนิ่วในถุงน้ำดีโดยใช้ Decision Tree

     
  5. Memory Based Reasoning ( MBR )
    เป็นเทคนิคที่อาศัยประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีอยู่ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทประกันภัยต้องการทราบว่าทำไมลูกค้าบางส่วนถึงซื้อประกันของบริษัทอย่างต่อเนื่อง แต่ลูกค้าบางส่วนกลับหนีไปซื้อประกันภัยเจ้าอื่น และต้องการทำนายว่าลูกค้าคนไหนจะหนีไปซื้อประกันภัยกับคู่แข่งอีกบ้าง
    ตัวแปรที่ MBR กำหนดไว้ 2 ตัวแปรคือ
    1) ระยะเวลาที่ลูกค้าถือกรมธรรม์ และ
    2) จำนวนบริการของบริษัทที่ลูกค้าใช้บริการ

    จากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว พบว่าลูกค้าที่ถือกรรมธรรม์น้อยกว่า 2 ปีครึ่งและใช้บริการน้อยกว่า 3 บริการจะหนีไปซื้อประกันภัยเจ้าอื่น

    ผลจากการวิเคราะห์ดังกล่าวข้างต้นจะทำให้บริษัทประกันทราบล่วงหน้าว่าจะมีลูกค้ารายใดไม่ต่อกรมธรรม์ในปีถัดไปบ้าง ซึ่งจะสามารถติดต่อกับลูกค้ารายนั้น ๆ เพื่อเสนอโปรโมชั่นจูงใจให้ลูกค้าต่อกรมธรรม์ของบริษัทต่อไป


  6.  
  7. Cluster Detection
    จะแบ่งฐานข้อมูลออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่า Segment (กลุ่ม Record ที่มีลักษณะคล้ายกัน) ส่วน Record ที่ต่างกันก็จะอยู่นอก Segment, Cluster Detection ถูกใช้เพื่อค้นหากลุ่มย่อย (Sub Group) ที่เหมือน ๆ กันในฐานข้อมูล เพื่อที่จะเพิ่มความถูกต้องในการวิเคราะห์ และสามารถมุ่งไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ถูกต้อง
     
  8. Link Analysis
     
    เน้นทำงานบน Record ที่มีความสัมพันธ์กัน หรือเรียกว่า Association เทคนิคนี้จะมุ่งไปที่รูปแบบการซื้อหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นลำดับ มีอยู่ 3 เทคนิค คือ

     
    5.1 Association Discovery ใช้วิเคราะห์การซื้อขายสินค้าในรายการเดียวกัน ศึกษาความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดที่ถูกปิดซ่อนอยู่ของสินค้า ซึ่งสินค้าเหล่านั้นอาจมีแนวโน้มที่จะถูกซื้อควบคู่กันไป การวิเคราะห์แบบนี้เรียกว่า Market Basket Analysis คือ รายการทั้งหมดที่ลูกค้าซื้อต่อครั้งที่ Super market การวิเคราะห์นี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ เช่น การเตรียมสินค้าคงเหลือ การวางแผนจัดชั้นวางสินค้า การทำ Mailing list สำหรับ Direct Mail การวางแผนเพื่อจัด Promotion สนับสนุนการขาย ตัวอย่างของ Association เช่น 75% ของผู้ซื้อน้ำอัดลมจะซื้อข้าวโพดคั่วด้วย

     
    5.2 Sequential Pattern Discovery ถูกใช้ระบุความเกี่ยวเนื่องกันของการซื้อสินค้าของลูกค้า มีจุดหมายที่จะเข้าใจพฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าในลักษณะ logn term เช่น ผู้ขายอาจพบว่าลูกค้าที่ซื้อ TV มีแนวโน้มที่จะซื้อ VDO ในเวลาต่อมา

     
    5.3 Similar Time Sequence Discovery ค้นหาความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างข้อมูล 2 กลุ่ม ซึ่งขึ้นต่อกันทางด้านเวลา โดยมีรูปแบบการเคลื่อนที่เหมือนกัน ผู้ขายสินค้ามักใช้เพื่อดูแนวโน้มเพื่อเตรียม Stock เช่น เมื่อไรก็ตามที่ยอดขายสินค้าน้ำอัดลมสูงขึ้น ยอดขายมันฝรั่งจะสูงขึ้นตาม
     
  9. Genetic Algorithm (GA)
    แนวคิดหลักคือ เมื่อเวลาผ่านไป วิวัฒนาการของเซลล์ชีวิตจะเลือกสายพันธุ์ที่ดีที่สุด “Fittest Species” GA มีความสามารถในการทำงานแบบรวมกลุ่มเข้าด้วยกัน เช่น มีการแบ่งกลุ่มและจัดรวมกลุ่มข้อมูลเป็น 3 ชุด ขั้นตอนการทำงานของ GA เริ่มจาก

     
    - จับกลุ่มข้อมูลเป็นกลุ่ม ๆ ด้วยการสุ่มเดา เปรียบเหมือนกลุ่ม 3 กลุ่มนี้เป็นเซลล์ของสิ่งมีชีวิต GA จะมี Fittest Function ที่จะบอกว่ากลุ่มข้อมูลใดเหมาะกับกลุ่ม ๆ ใด โดย Fittest Function จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าข้อมูลเหมาะกับกลุ่มมากกว่าข้อมูลอื่น ๆ

     
    - GA จะมี Operator ซึ่งยอมให้มีการเลียนแบบและแก้ไขลักษณะของกลุ่มข้อมูล Operator จะจำลองหน้าที่ของชีวิตที่ถูกพบในธรรมชาติ คือ มีการแพร่พันธุ์ จับคู่ผสมพันธ์ และเปลี่ยนรูปร่างตามต้นแบบของพันธุกรรม เปรียบกับข้อมูลถ้ามีข้อมูลใดในกลุ่มถูกพบว่าตรงกับคุณสมบัติของ Fittest function แล้ว มันจะคงอยู่และถูกถ่ายเข้าไปในกลุ่มนั้น แต่ถ้าไม่ตรงกับคุณสมบัติ ก็ยังมีโอกาสที่จะถ่ายข้ามไปยังกลุ่มอื่นได้
  10. Rule Induction
    ดึงเอาชุดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ มาสร้างเป็นเงื่อนไขหรือกรณี วิธีการของ Rule Induction จะสร้างชุดของกฎที่เป็นอิสระ ซึ่งไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบของโครงสร้างต้นไม้
     
  11. K-nearest neighbor (K-NN)
    ใช้วิธีในการจัดแบ่งคลาส โดยจะตัดสินใจว่าคลาสไหนที่จะแทนเงื่อนไขหรือกรณีใหม่ ๆ ได้บ้าง โดยการตรวจสอบจำนวนบางจำนวนของกรณีหรือเงื่อนไขที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุด โดยจะหาผลรวม (Count Up) ของจำนวนเงื่อนไข หรือกรณีต่าง ๆ สำหรับแต่ละคลาส และกำหนดเงื่อนไขใหม่ ๆ ให้คลาสที่เหมือนกันกับคลาสที่ใกล้เคียงกับมันมากที่สุด

     
    K-NN ค่อนข้างใช้ปริมาณงานในการคำนวณสูงมากบนคอมพิวเตอร์ เพราะเวลาสำหรับการคำนวณจะเพิ่มขึ้นแบบแฟคทอเรียล ตามจำนวนจุดทั้งหมด เทคนิคของ K-NN จะมีการคำนวณเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีกรณีใหม่ ๆ เกิดขึ้น ดังนั้นถ้าจะให้เทคนิคแบบ K-NN ทำงานได้เร็ว ข้อมูลที่ใช้บ่อยควรเก็บอยู่ใน MBR (Memory-Based Reasoning)
     
  12. Association and Sequence Detection
    - Association ใช้หากฎความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มของข้อมูล (Item) ต่าง ๆ ใช้ใน Market-basket analysis อาจใช้เพื่อวิเคราะห์การสั่งซื้อสินค้า

     
    - Sequence Detection เหมือนกับ Association แต่จะนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเพิ่มตัวแปรด้านเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพื่อใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของข้อมูล

    การเขียนความสัมพันธ์ (Association) เช่น AàB หมายถึง

     
    A เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน (Antecedent) หรือ LHS (Left-Hand Side)
    B เป็นผลของเหตุการณ์ (Consequent) หรือ RHS (Right- Hand Side) เช่น ในกฎของความสัมพันธ์ “ถ้าซื้อค้อน แล้วจะซื้อตะปู “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนคือ ค้อน เกิดหลังคือ ตะปู
  13. Logic Regression

    เป็นการวิเคราะห์ความถดถอยแบบเส้นตรงทั่วๆ ไป ใช้ในการพยากรณ์ผลลัพธ์ของ 2 ตัวแปร เช่น Yes/No, 0/1 แต่เนื่องจากตัวแปรตาม (Dependent Variable) มีค่าเพียง 2 อย่างเท่านั้น จึงไม่สามารถสร้างแบบจำลอง (Model) ได้สำหรับการวิเคราะห์แบบ Logic Regression

     
    ดังนั้นแทนที่จะทำการพยากรณ์โดยอาศัยเพียงค่าของตัวแปรตามที่ได้ เราจะสร้าง Model โดยอาศัย Algorithm ของความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ เราเรียก Algorithm นี้ว่า Log Odds หรือ Logic Transtromation

     
    อัตราส่วนความน่าจะเป็น : ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์
                                       ความน่าจะเป็นที่จะไม่เกิดเหตุการณ์
     
  14. Discriminant Analysis
    เป็นวิธีการทางคณิตศาสตร์ซึ่งใช้ในการจำแนก และวิเคราะห์ ผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองชนิดนี้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เพราะผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไปก็สามารถพิจาณาได้ว่าผลลัพธ์จะอยู่ทางด้านใดของเส้นทางในแบบจำลอง การเรียนรู้สามารถทำได้ง่าย วิธีการที่ใช้มีความไวต่อรูปแบบของข้อมูล วิธีนี้ถูกนำมาใช้มาในทางการแพทย์ สังคมวิทยา และชีววิทยา แต่ไม่เป็นที่นิยมในการทำ Data Mining
     
  15. Generalized Additive Models (GAM)
    พัฒนามาจาก Linear Regression และ Logistic Regression มีการตั้งสมมติฐานว่า Model สามารถเขียนออกมาได้ในรูปของผลรวมของ Possibly Non-Linear Function GAM สามารถใช้ได้กับปัญหาแบบ Regression และ Classification GAM จะใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการค้นหารูปแบบอง Function ที่ให้ Curve ที่เหมาะสม ทำการรวมค่าความสัมพันธ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แทนที่จะใช้ Parameter จำนวนมาก เหมือนที่ Neural Network ใช้ แต่ GAM จะประเมินค่าของ Output ในแต่ละ Input เช่นเดียวกับ Neural Network GAM จะสร้างเส้นโค้งขึ้นมาอย่างอัตโนมัติ โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่
     
Multivariate Adaptive Regression Splits (MARS)
ถูกคิดค้นเมื่อกลางทศวรรษที่ 80 โดย Jerome H. Friedman หนึ่งในผู้คิดค้น CART MARS สามารถที่จะค้นหาและแสดงรายการตัวแปรอิสระที่มีความสำคัญสูงสุดเช่นเดียวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ และ MARS สามารถ Plot จุดแสดงความเป็นอิสระของแต่ละตัวแปรอิสระ ออกมาได้ ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ Non-Linear Step-wise regression tools
 
การนำ Data Mining ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจด้านต่าง ๆ
การประยุกต์ใช้ Data Mining สามารถจัดกลุ่มใหญ่ ๆ ได้เป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่ใช้เพื่อการทำนายและกลุ่มที่ใช้เพื่อการอธิบาย
 
  1. การทำ Data Mining เพื่อการทำนาย เป็นการนำความรู้ที่เรียนรู้มาจากข้อมูลที่มีอยู่เพื่อประโยชน์ในการทำนายข้อมูลใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  2. การทำ Data Mining เพื่อการอธิบาย เป็นการค้นหารูปแบบที่น่าสนใจจากกลุ่มข้อมูล รูปแบบนี้มักจะเป็นความสัมพันธ์หรือลักษณะที่เชื่อมโยงกันของข้อมูล การทำแบบนี้ต่างจากแบบแรกตรงที่ผู้ใช้ไม่ได้กำหนดล่วงหน้าว่าจะให้โปรแกรม Data Mining ค้นหารูปแบบหรือโมเดลของอะไร แต่ให้ค้นหาทุกรูปแบบที่น่าสนใจจากข้อมูล
การใช้งาน Data Mining ด้านต่าง ๆ
ด้านการแพทย์ : นำ Data Mining มาช่วยวิเคราะห์อาการของคนไข้, วิเคราะห์การจ่ายยา , พยากรณ์แนวโน้มการเกิดโรคระบาด
ด้านธุรกิจ : นำมาวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า, ทำนายพฤติกรรมของลูกค้าล่วงหน้า และวิเคราะห์แนวโน้มการซื้อสินค้าของลูกค้า, การพยากรณ์ยอดขายสินค้าจากการขายสินค้าที่ผ่านมา
ด้านการเงินการธนาคาร : นำมาช่วยในการตัดสินใจการอนุมัติวงเงินกู้, การหาลูกค้าชั้นดี , การทำงานวงเงินกู้ เป็นต้น
ด้านเกษตรกรรม : นำมาวิเคราะห์และพยากรณ์ราคาสินค้า, ทำนายมูลค่าการส่งออกสินค้า ฯลฯ

 
Software สำหรับ Data Mining
ปัจจัยหลายประการที่ทำให้ Data Mining เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ปริมาณข้อมูลที่แต่ละองค์กรต้องเกี่ยวข้องมีเพิ่มขึ้น (เป็น Gigabyte หรืออาจเป็น Terabyte) และนับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การทำการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เหล่านี้เพื่อสร้างคุณค่าให้กับข้อมูลเป็นเรื่องยากแต่ก็จำเป็น ซึ่ง Data Mining เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่เข้ามาช่วยในเรื่องนี้ ความสามารถของ CPU ที่เพิ่มขึ้นในขณะที่ราคาลดลง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ Data Mining ที่ทำงานบน PC ( Personal Computer ) เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้องค์กรต่าง ๆ เริ่มหันมามอง Data Mining Tools มากขึ้น ตัวอย่างบริษัทที่ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ Data Mining ที่มีชื่อเสียงได้แก่

  •  Kate ของบริษัท Acknosoft ใช้เทคนิค Decision trees และ Case-based reasoning ใช้กับWindows NT และ UNIX คู่กับฐานข้อมูล ( บน NT ) คือ Microsoft Access
  • Knowledge Seeker ของบริษัท Angoss ใช้เทคนิค Decision trees และ Statistics ใช้กับ Windows NT ติดต่อฐานข้อมูลผ่านทาง ODBC
  • Business Miner ของบริษัท Business Objects ใช้เทคนิค Neural Networks และ Machine Learning ใช้กับ Windows NT ติดต่อฐานข้อมูลผ่าน ODBC
  • Intelligent Miner เป็นผลิตภัณฑ์ของ IBM Corporation ใช้เทคนิค Classification , Association Rules และ Predictive Modes ใช้กับ UNIX (AIX) บน DB2 เป็นชุดของโปรแกรม ซึ่งประกอบด้วย Explorer , Diamond , และ Quest
  • Explorer เป็นเครื่องมือที่ใช้เทคนิคแบบ neural networks สำหรับแก้ปัญหาประเภท clustering
  • Diamond เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในด้านการแสดงผล ( visualization )
  • Quest เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อทำสิ่งที่ IBM เรียกว่า “Link analysis”
  • Enterprise Miner ของบริษัท SAS ใช้เทคนิค Decision trees , Association Rules , Neural network , Regression และ Clustering ใช้กับระบบ UNIX ( Solaris ) , Windows NT และ แมคอินทอช ติดต่อกับฐานข้อมูลผ่าน ODBC และสนับสนุน Oracle
  • Mineset ของบริษัท Silicon Graphics ใช้เทคนิค Decision trees และ Association Rules ใช้กับระบบ UNIX ( Irix ) บนฐานข้อมูล Oracle , Sybase และ Informix
  • DataMind Professional Edition , DataMind DataCrucher เป็นผลิตภัณฑ์ของ DataMind Corporation DataMind ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า “Agent Network Technology” ซึ่งมีพื้นฐานมาจากงานวิจัยของ Dr. Khai Minh Pham ที่ University of Paris การแสดงผลของ DataMind แสดงผลผ่าน Microsoft’s Excel
  • Drawin เป็นผลิตภัณฑ์ของ Thinking Machines Corporation Darwin เป็นชุดของผลิตภัณฑ์ Data Mining ประกอบด้วย
    - StarTree ใช้เทคนิคแบบ Decision tree , Classification and Regression Tree ( CART ) ในการทำ Data Mining
    - StarNet ใช้เทคนิคแบบ Neural network หรือ Artificial neural networks ( ANNs ) ในการทำ Data Mining
    - StarMatch ใช้เทคนิคแบบ k-Nearest Neighbor ( KNN ) และ Memory-based Reasoning ( MBR )
    - StarGene ใช้เทคนิคแบบ Genetic algorithm และ optimization
    - StarView เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการแสดงผลข้อมูล ( data visualization )
คุณสมบัติหลัก ๆ 5 ประการในการเลือกซื้อซอฟท์แวร์


 
  1. พิจารณาถึงเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลของ Software แต่ละตัวว่าตรงตามที่ต้องการหรือไม่ (ต้องกำหนดเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมกับงานและผลลัพท์ที่ต้องการก่อน)
  2. พิจารณาเรื่องเครื่องมือช่วยในการเตรียมข้อมูล ( Data preparation facilities ) ซึ่งหมายรวมถึงการแปลงข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่ง หลายรูปแบบ ให้สามารถนำมาใช้กับ Data Mining ร่วมกันได้ถูกต้อง
  3. พิจารณาว่า Software ดังกล่าวเปิดโอกาสให้เลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ต่าง ๆ ของ Data Mining ได้หรือไม่ ( Selection of D.M. operations & algorithms ) โดยส่วนใหญ่แต่ละค่ายจะมี 2-3 แบบให้เลือก
  4. พิจารณาว่า Software ดังกล่าวสามารถให้ผู้ใช้เลือกซื้อซอฟต์แวร์ได้ตามขนาดข้อมูลและประสิทธิภาพตามต้องการ ( Product scalability and performance ) ได้หรือไม่
  5. มีการแสดงผลที่ชัดเจนและน่าสนใจ ( Facilities for visualization of results )

ขอขอบคุณข้อมูลจาก


 
  1. http://www.resgat.net/modules.php?name=News&file=article&sid=55
  2. http://community.thaiware.com/index.php/topic/131275-coaeaoaci-network/page__st__30
  3. http://compcenter.bu.ac.th/index.php?Option=com_content&task=view&id=75&Itemid=172

 


วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เทคโนโลยี FTTH

การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีจากโทรศัพท์ประจำที่เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ 
การเกิดเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่เมื่อเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ได้เข้ามาทดแทนบริการโทรศัพท์ประจำที่จนปัจจุบันคนไทยมีมือถือใช้กันเกือบทุกคน ขณะที่โทรศัพท์ประจำที่มีแต่ทรงกับทรุด รายได้หดลงเรื่อย ๆ ตามความล้าสมัยของเทคโนโลยีที่เริ่มตกยุคไปด้วยกัน ผู้ให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ทั่วโลกจึงเริ่มมองหาแหล่งรายได้ใหม่ นั่นคือการผันตัวมาให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งในยุคแรก ๆ เป็นการให้บริการผ่านโครงข่ายสายทองแดง และเมื่อตลาดเติบโตขึ้นก็มีการลงทุนขยายโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง ดังเช่น ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในอีกด้านหนึ่ง ความเร็วในการให้บริการอินเทอร์เน็ตก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมที่วิ่งอยู่ที่ 56 Kbps ก็ปรับขึ้นเป็น 128, 256, 512 Kbps พร้อมกับศัพท์ใหม่ที่ผู้บริโภครู้จักนั่นคือคำว่า อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์ จนปัจจุบันความเร็วอินเทอร์เน็ตขั้นต่ำอยู่ที่ 4 Mbps และมีความเร็วที่ให้บริการสูงสุดในตลาดถึง 16 Mbps แล้ว

ข้อจำกัดของสายทองแดง 1. ความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ให้ได้สูงสุดอยู่ที่ 20 Mbps 2. ต้องใช้เงินลงทุนโครงข่ายสูงแต่ได้พื้นที่ให้บริการเท่าเดิม
เทคโนโลยีโครงข่ายไร้สายกับเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)
ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาการจากการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี IEEE 802.11x (Wireless LAN) หรือเทคโนโลยีโครงข่ายสื่อสารในลักษณะของเซลลูลาร์อย่างโครงข่าย 3G หรือ WiMAX ให้เป็นทางเลือกของการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดของการสื่อสารโดยผ่านทางคลื่นวิทยุความถี่ต่าง ๆ ของโครงข่ายสื่อสารไร้สาย โดยเฉพาะการจัดสรรช่องสัญญาณหรือแบนด์วิดท์ในการใช้งานที่ส่วนใหญ่จะถูกจัดสรรแบ่งให้กับผู้ใช้บริการรายอื่น ๆ โดยเฉพาะในกรณีของการใช้งานผ่าน hotspot สาธารณะ ทำให้อัตราความเร็วจริงในการบริโภคข้อมูลไม่สูงมากนัก ในส่วนของกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ยังนิยมใช้โทรศัพท์ในการสนทนา , การบริโภคข้อมูลข่าวสาร หรือการท่องอินเตอร์เน็ตยังคงเป็นแบบพื้น ๆ ซึ่งสาเหตุก็อาจจะเกิดจากขนาดของเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ PDA มีขนาดเล็ก, ขีดความสามารถของเครื่องลูกข่าย หรือโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีข้อจำกัด เช่น การโมดูแลตสัญญาณเพื่อส่งผ่านทางภาควิทยุ เป็นต้น นอกจากนี้การขยายตัวของแอปพลิเคชั่นการใช้งานบนโครงข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการบริโภคสื่อมัลติมีเดีย, รายการโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต (Internet TV หรือ IPTV) ที่ต้องการเสียงและภาพที่คมชัด, ความต้องการการให้บริการแบบปฏิพันธ์ (Interactive) ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ให้บริการได้ รวมถึงติดต่อสื่อสารในโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารหลากหลายชนิดได้พร้อมกันทำให้แนวโน้มความต้องการในแบนด์วิดท์สูงขึ้นเกินกว่าขีดจำกัดของคู่สายโทรศัพท์แบบทองแดงรายละเอียดการคำนวณดังตารางที่ 2

พัฒนาการของเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) สู่ FTTH

จากตารางที่ 2 จะเห็นได้ชัดว่าแนวโน้มของความต้องการใช้แบนด์วิดท์ในอนาคตต้องการสูงถึง 31.6 Mbps ซึ่งเกินจากความสามารถของสายทองแดงที่มีความเร็วได้สูงสุดแค่ 20 Mbps เท่านั้น ทำให้เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เป็นตัวกลางในการรับส่งสัญญาณไปยังผู้ใช้บริการ

การวางรูปแบบ FTTH ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

ทำหน้าที่รับสัญญาณจากแหล่งต้นทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณโทรศัพท์ที่ถูกส่งแบบมัลติเพล็กซ์ (Time Division Multiplexing) มาจากชุมสายโทรศัพท์และมีโพรโทคอล GR-303 ที่กำกับควบคุมทราฟฟิคข้อมูลสัญญาณโทรศัพท์ระหว่างชุมสายโทรศัพท์กับอุปกรณ์ OLT นอกจากนี้อุปกรณ์ OLT ยังทำการติดต่อกับเราท์เตอร์ซึ่งทำหน้าที่รวมสัญญาณที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตหรือแม้กระทั่งเครือข่าย WAN เฉพาะกิจต่างๆ โดยผ่านทางโพรโทคอล Gigabit Ethernet (GigE) และในท้ายที่สุดหากมีการให้บริการโทรทัศน์หรือรายการแบบมัลติมีเดียใดๆ อุปกรณ์ OLT ก็จะได้รับการเชื่อมต่อเข้ากับสื่อสัญญาณโทรทัศน์ โดยผ่านทางโพรโทคอลมาตรฐานเช่น MPEG over IP สัญญาณต่างๆ เหล่านี้จะถูกรวมส่งผ่านคู่สายใยแก้วนำแสงซึ่งมีการบริหารจัดการข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี PON ไม่ว่าจะเป็น GPON หรือ EPON เพื่อให้สามารถส่งกระจายช่องสัญญาณไปยังผู้ใช้บริการได้ตามต้องการ
2) อุปกรณ์ ONU หรือ ONT ที่ติดตั้งอยู่ตามที่พักอาศัยหรือสำนักงานของผู้บริโภค ทำหน้าที่แยกประเภทของสัญญาณข้อมูล (เสียง, ข้อความ, ภาพ) ออกตามประเภทของการเชื่อมต่อ เช่น เสียงออกทางสายนำสัญญาณโทรศัพท์แบบ POTS (Plain Old Telephone Service) หรือสายโทรศัพท์แบบทองแดงนั่นเอง ส่วนข้อมูลต่างๆ จะถูกเชื่อมต่อผ่านทางพอร์ตแบบ 10/100/1000 Base T หรือสาย LAN ที่รู้จักกันทั่วไป ในขณะที่สัญญาณภาพหรือรายการโทรทัศน์จะถูกเชื่อมต่อผ่านไปยังกล่องควบคุม Set Top Box
ที่มา : http://www.telecomjournal.net/telecomjournal.net

ผู้ให้บริการที่ใช้เทคโนโลยี FTTx ในประเทศไทย
1) กลุ่ม Thai COLT กลุ่ม Thai COLT (Thailand Collaborative Optical Leading Testbed)
    เป็นการจัดตั้งระหว่างบริษัทฟรีอินเตอร์เน็ต, บริษัทไซน์คอร์ป (Scicorp), บริษัทเซนโค (SENKO Adv. Australia), บริษัทซีออส (CEOS), บริษัทวีวาโฟโตนิกส์ (VIVA Photonics), บริษัทเรดเซ็นเตอร์ (Redcenter) และบริษัทวีพีเอ็น (VPN; Victorian Photonics Network) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี FTTH (Fibre To The Home) รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ และถือเป็นรายแรกที่เป็นเจ้าของสิทธิ์การทำตลาด และเป็นผู้ให้บริการ (โอเปอเรเตอร์) รายแรกในประเทศไทย
หลักการให้บริการคือการเดินสายเคเบิลใยแก้วเพียงเส้นเดียวเข้าไปยังพื้นที่หรืออาคารสำนักงานหรือบ้านพักอาศัย ต่อเข้าไปยังเซ็ตท็อปบ็อกซ์ หลังจากนั้นสามารถกระจายไปยังอุปกรณ์ปลายทางเพื่อใช้บริการได้มากกว่า 1 ประเภท เช่นสามารถดูหนังที่จุดที่หนึ่ง เล่นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่จุดที่สอง เล่นเกมออนไลน์ที่จุดที่สาม รวมถึงสามารถใช้บริการโทรศัพท์ได้ด้วย โดยในแง่การวางสายเคเบิลสามารถทำได้ในลักษณะไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรหรือการเช่าใช้จากหน่วยงานที่มีสายเคเบิลใยแก้วอยู่แล้วไม่ว่าบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น หรือการไฟฟ้านครหลวง
     ความเร็วในการให้บริการ
     
เริ่มตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 Mbps หรือเร็วกว่า ADSL 400 เท่า
     แผนการให้บริการ
     
ราวไตรมาส 3 ปีนี้ (2553) จะให้บริการด้านอินเทอร์แอ็กทีฟกับสื่อโฆษณาขนาดใหญ่ เพื่อแสดงให้เห็นศักยภาพเทคโนโลยี และมีแผนเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 4 ปีนี้ ซึ่งบริการที่จะเปิดในช่วงแรกจะเป็นด้านการสื่อสารข้อมูล ในลักษณะอินเตอร์แอ็กทีฟ แต่เทคโนโลยี FTTH ที่มีให้บริการในประเทศออสเตรเลียและญี่ปุ่นแล้วนั้น สามารถให้บริการได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นวิดีโอออนดีมานด์ เปย์ทีวี โทรศัพท์พื้นฐาน โฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ ใช้ในทางการแพทย์อย่าง e-Health (Telemedicine) โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล เพียงแต่มีอุปกรณ์ที่สามารถส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ FTTH ได้ก็เพียงพอ
     กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
    
ในช่วงแรกของการให้บริการจะมุ่งลูกค้าองค์กร สถานศึกษา บริการสื่อสารข้อมูลในลักษณะอินเตอร์แอ็กทีฟ บริการ e-Learning

ที่มา : ผู้จัดการ

2) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
   
คุณ ศิโรตม์ รัตนามหัทธนะ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายองค์กร บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า เทคโนโลยี FTTx จะเป็นตัวเลือกใหม่ของการให้บริการอินเทอร์เน็ต เนื่องจากสามารถให้ความเร็วได้สูงแทบไม่จำกัดคือตั้งแต่ 10 Mbps-10 Gbps (สูงถึง 1 Tbps ในอนาคต) แถมมีอายุการใช้งานของสายไฟเบอร์ออปติกนานเป็นสิบ ๆ ปี เทียบตัวอย่างง่าย ๆ หากดาวน์โหลดหนังเรื่อง Braveheart ถ้าใช้เทคโนโลยี ISDN ความเร็ว 128 Kbps จะใช้เวลา 20 ชั่วโมง หากใช้เทคโนโลยี DSL ความเร็ว 1 Mbps ใช้เวลา 2.5 ชั่วโมง แต่หากใช้ FTTx จะใช้เวลา 4 วินาทีเท่านั้น
     แผนการลงทุน
     
กสท. มีโครงการลงทุนโครงข่าย FTTx ในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี หรือเรียกว่า "กรุงเทพฯ+3" ใช้เงินลงทุนทั้งหมด 6,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี จาก 2553-2555 โดยจะสามารถรองรับผู้บริโภคได้ถึง 400,000 ครัวเรือน ซึ่งขณะนี้คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการแล้วเมื่อ 27 เม.ย. 2553 ที่ผ่านมา และกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุง TOR ซึ่งคาดว่าในอีก 2-3 เดือนจะสามารถประมูลได้และเริ่มให้บริการได้ตั้งแต่ต้นปี 2554"
     กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
     
กสทฯ จะทำตลาดเน้นในเรื่องบริการ triple play นั่นคือ ลูกค้าสามารถใช้ทั้งอินเทอร์เน็ต บริการเสียงและดูทีวีผ่านอินเทอร์เน็ตได้เลย โดยเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน เพราะการให้บริการในช่วงแรกราคายังถือว่าแพงอยู่
     โปรโมชั่น
     
แบ่งโปรโมชั่นในการให้บริการ 2 ระดับคือ - จ่าย 1,500 บาท/เดือน ได้ความเร็ว 20 Mbps - ราคา 5,000 บาท/เดือน ได้ความเร็ว 100 Mbps
ที่มา : http://www.greatnote.com/blog/2010/04/05/359/

3) TOT
   
ทีโอที จับมือ ผู้แทนกิจการร่วมค้าอิตาเลี่ยนไทย ดีเวลอปเมนท์ จำกัด และสยามไฟเบอร์ออฟติค เพื่อร่วมกันพัฒนาประสิทธิภาพบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet) วางเคเบิลใยแก้วนำแสงคุณภาพสูง FTTx ในพื้นที่จังหวัดภูเภ็ต เพื่อรองรับการให้บริการได้ถึง 1 Gb/s.
     แผนการลงทุน
     
“นายวิศิษฐ์ กล่าวว่า สำหรับการลงทุนไฟเบอร์ออฟติกในส่วนนครหลวง ปีนี้ทีโอทีมีงบลงทุนอยู่ที่ประมาณ 150 ล้านบาท แบ่งออกเป็นการลงทุนโครงการดังกล่าว 25 ล้านบาท และที่เหลืออีก 125 ล้านบาท จะไปลงทุนติดตั้งไฟเบอร์ออฟติก กับ หมู่บ้านสัมมากร (รามคำแหง) คอนโด ไอดีโอ 3 โครงการ และ คิวเฮาท์ คอนโดฯ ก่อนหน้านี้ ทีโอทีได้ใช้งบประมาณ ลงทุน 200 ล้านบาท วางระบบโครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสง หรือ ไฟเบอร์ออฟติก (FTTX) นำร่องเปิดให้บริการ ไฟเบอร์ ทูยู (Fiber 2U) ทั่วจังหวัดภูเก็ต โดยในระยะแรกทีโอทีจะให้บริการความเร็ว 10 เมกะบิต ในราคา 8,600 บาท และ 20 เมกะบิต ในราคา 15,000 บาท 30 เมกะบิต ราคา 22,000 บาท และคาดว่า จะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 3 ปี 7 เดือน ซึ่งเฉลี่ยแล้ว ทีโอที ต้องมีรายได้จากบริการดังกล่าวประมาณ 50 -60 ล้านบาท นอกจากนี้ ทีโอที ยังวางโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติก ที่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ชลบุรี พัทยา หัวหิน มาบตาพุด จังหวัดระยองโดยพื้นที่ให้บริการส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือเป็นนิคมอุตสาหกรรม ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและต้องการความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล”

ที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์


     กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
    
มุ่งเน้นบริการลูกค้าระดับบนที่มีรายได้ค่อนข้างสูง หรือระดับ Premium เช่น ลูกค้ากลุ่มธุรกิจโรงแรม กลุ่มผู้รับชมเคเบิลทีวีท้องถิ่น ประมาณ 4,000 ราย นอกจากนั้นจะเป็นกลุ่มลูกค้าชาวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวและประกอบธุรกิจภายในประเทศ และรองรับโครงการ IT City ในจังหวัดภูเก็ต โดยบริการที่รองรับนอกจากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงปกติแล้ว ยังสามารถใช้บริการรับชมเคเบิลทีวีในแบบความละเอียดสูง หรือ HDTV รวมถึง IPTV และการซื้อภาพยนตร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่กำลังเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ

ที่มา : http://www.newswit.com/news/2008-01-23/1045-fttx-broadband/

4) ทรูออนไลน์
   
ทิศทางทรูออนไลน์ในปีนี้ เปิดแผนลงทุนขยายเครือข่าย 2,500 ล้านบาท รุกหนักต่างจังหวัด หลังตลาดกรุงเทพฯเริ่มอิ่มตัว พร้อมให้บริการแบบอัลตร้า ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต ที่ความเร็วสูงถึง 100 เมกะบิตรองรับเว็บ 3.0 ตั้งเป้าลูกค้าเพิ่ม 3 แสนราย วิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการ ทรูออนไลน์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปีนี้ทรูออนไลน์มีแผนจะลงทุนเพิ่มจำนวน 2,500 ล้านบาท เพื่อขยายโครงข่ายเพิ่มพื้นที่ให้บริการครอบคลุมหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ รองรับการขยายตัวของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์ได้ถึง 1.7 ล้านราย พร้อมกันนี้ ยังจะหาบริการใหม่ๆ เพื่อรักษาฐานลูกค้าให้ใช้บริการในระยะยาว เพราะทรูออนไลน์มีเป้าหมายที่จะขยายฐานสู่กลุ่มลูกค้าระดับบน และลูกค้ากลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มการใช้งานด้านการรับส่งข้อมูลเพิ่มสูงขึ้น โดยจะให้บริการแบบอัลตร้า ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต ที่ระดับความเร็ว 30-100 เมกะบิต ในกลุ่มคอนซูเมอร์ รองรับเว็บ 3.0 แต่ตลาดตรงนี้เชื่อว่าจะยังมีไม่มาก เพราะค่าบริการยังสูง แต่ปีหน้าคาดว่าจะเริ่มลดลง ส่วนฐานลูกค้าปีนี้ตั้งเป้าไว้ที่ 3 แสนราย จากปีที่ผ่านมาที่มีฐานลูกค้าประมาณ 7 แสนราย
ที่มา : http://www.telecomjournal.net/
บทสรุป
    
จากพัฒนาการต่าง ๆ ของเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีโทรศัพท์ประจำที่, เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่, เทคโนโลโยการสื่อสารไร้สาย หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยี FTTx หากการติดต่อสื่อสารไปยังโครงข่ายภายนอกประเทศยังต้องผ่าน Gateway ของ TOT จะยังคงทำให้อัตราความเร็วยังมีข้อจำกัดอยู่เหมือนเดิม แต่ถ้านำมาใช้สำหรับการส่งข้อมูลภายในประเทศ เช่น Local Cable TV หรือ Local VDO On demand ก็จะสามารถใช้ความเร็วได้อย่างเต็มที่

Free TextEditor

1) OLT (Optical Line Terminal)

จากการเปลี่ยนแปลงการใช้โทรศัพท์ประจำที่เป็นการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ และการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย ที่มีข้อจำกัดในเรื่องต่าง ๆ ในข้างต้น ทำให้เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) มาใช้เป็นตัวการในการรับส่งข้อมูลแบบดิจิทัล โดยมีการเปลี่ยนตัวนำสัญญาณจากเดิมที่เป็นสายนำสัญญาณแบบเคเบิ้ลหรือคลื่นวิทยุไมโครเวฟระหว่างชุมสายโทรศัพท์ (Inter-Exchange link) มาเป็นใยแก้วนำแสง ซึ่งมีต้นทุนและความคุ้มทุนที่ประหยัดกว่าการใช้ตัวนำสัญญาณชนิดอื่น แต่เมื่อมองถึงการเปลี่ยนประเภทตัวนำจากชุมสายไปยังอาคารบ้านเรือนหรือสำนักงานธุรกิจของผู้บริโภค ซึ่งเดิมเป็นคู่สายโทรศัพท์ทองแดงไปเป็นสายนำสัญญาณแบบใยแก้วนำแสง ก็พบว่ามีต้นทุนสูงมากรายละเอียดตามสัดส่วนดังต่อไปนี้ - งานทางด้านโยธา เช่น การขุดดิน การวางสาย    53% - งานทางด้านการทำ Coupling และ Splitter หรือการกระจายคู่สายใยแก้วนำแสง 20% - ค่าสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) 10% - อื่น ๆ 17% จากสัดส่วนต้นทุนดังกล่าวข้างต้นจะเห็นว่า หากสามารถลดต้นทุนในการวางคู่สายในส่วนของงานทางด้านโยธา และงานด้านการทำ Coupling และ Splitter ลงไปได้จะทำให้ถึงจุดคุ้มทุนที่เร็วขึ้น โดยการวางคู่สายให้น้อยลง (ต้นทุนต่ำ) แต่รองรับผู้ใช้งานได้เป็นจำนวนมาก (รายได้สูง) จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลผ่านใยแก้วนำแสงมาสู่ยุคของ FTTH
เข้าสู่ยุค FTTH FTTH หรือ Fiber to the home เป็นแนวทางในการให้บริการรับส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงผ่านใยแก้วนำแสงไปยังบ้านเรือนหรืออาคารธุรกิจ ซึ่งผู้ให้บริการ FTTH นั้นอาจเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือเป็นองค์กรอื่นๆ ก็ได้ โดยมุ่งเน้นการวางคู่สายจำนวนน้อย แต่รองรับผู้ใช้งานได้เป็นจำนวนมาก เทคโนโลยีการรับส่งสัญญาณผ่านบริการ Fiber to the home นั้นทำได้หลายประเภท แต่ที่ได้รับความสนใจนำไปลงทุนกันในปัจจุบันก็คือการใช้เทคโนโลยี Passive Optical Network (PON) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบหนึ่งจุดไปยังหลายๆ จุด (Point-to-Multipoint) ช่วยประหยัดต้นทุนในการวางคู่สายใยแก้วนำแสงได้มากที่สุด เทคโนโลยี PON ได้รับความสนใจพัฒนาข้อกำหนดมาตรฐานโดยหน่วยงานและสำนักงานมาตรฐานทางโทรคมนาคมระดับโลก ทั้ง ITU (International Telecommunication Union) และ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ก่อให้เกิดข้อกำหนดมาตรฐาน PON ให้เลือกใช้หลากหลายมาตรฐาน ดังนี้

1. ข้อกำหนด ITU-T G.983
   
    ♦ มาตรฐาน APON (ATM Passive Optical Network)
      
       - เป็นมาตรฐาน PON แรกของโลก ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานของภาคธุรกิจ
     
       - รูปแบบการจัดโครงสร้างข้อมูลที่ถูกรับส่งผ่านวงจรใยแก้วนำแสงตามมาตรฐานสื่อสารแบบ ATM (Asynchronous Transfer Mode)
    
♦ มาตรฐาน BPON (Broadband PON)       
       - เป็นมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดจาก APON โดยเพิ่มขีดความสามารถในการรับส่งข้อมูลแบบ WDM (Wavelength Division Multiplex) ช่วยเพิ่มแบนด์วิดท์ในการรับส่งข้อมูล จากผู้ใช้บริการกลับไปยังโครงข่าย
     
      
- ในมาตรฐาน BPON นี้ยังมีการกำหนดจุดเชื่อมต่อมาตรฐานมีชื่อว่า OMCI (ONT Management and Control Interface) ขึ้นระหว่างอุปกรณ์ OLT กับ ONU/ONT เพื่อใช้ในการบริหารจัดการจุดเชื่อมต่อ โดยเป็นมาตรฐานกลาง ทำให้ผู้ให้บริการโครงข่ายสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ของผู้ผลิตรายใดก็ได้

2. ข้อกำหนด ITU-T G.984
   
    ♦ มาตรฐาน GPON (Gigabit PON)
      
- เป็นพัฒนาอีกขั้นหนึ่งที่สูงกว่า BPON
      
- รองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่สูงขึ้น       
       - มีกลไกรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่ดีกว่า
      
       - มีการกำหนดตัวเลือกในการรับส่งข้อมูลในระดับชั้นโพรโทคอลชั้นที่ 2 (OSI Layer 2 protocol) ได้ทั้งแบบ ATM, GPON Encapsulate Method (GEM) และอีเธอร์เน็ต ถือเป็นมาตรฐาน PON ที่โดดเด่นและมีแนวโน้มในการนำไปใช้งานในเชิงธุรกิจมากที่สุด


3. ข้อกำหนด IEEE 802.3ah
   
   ♦ มาตรฐาน EPON (Ethernet PON) หรือ GEPON
     
- เป็นข้อกำหนดมาตรฐานจากค่าย IEEE ของสหรัฐอเมริกา
     
- ใช้ปรัชญาการรับส่งข้อมูลในรูปแบบของเฟรมข้อมูลอีเธอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันข้อกำหนด IEEE 802.3ah ได้รับการบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของอนุกรมข้อกำหนด IEEE 802.3 ถือเป็น PON อีกมาตรฐานหนึ่งที่เป็นคู่แข่งขันกับมาตรฐาน GPON ของค่ายยุโรป

4. ข้อกำหนด IEEE 802.3av
   
♦ มาตรฐาน 10GEPON (10 Gigabit Ethernet PON)
      
- เป็นมาตรฐานที่กำลังได้รับการพัฒนาต่อยอดจาก EPON
      
- มุ่งออกแบบให้มีการแยกลำแสงที่ส่งภายในคู่สายใยแก้วนำแสง เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถแยกการรับข้อมูลด้วยอัตราเร็ว 10 กิกะบิตต่อวินาที และ 1กิกะบิตต่อวินาทีออกจากกัน
      
- ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการวางข้อกำหนด  ในปัจจุบันเทคโนโลยี GPON ได้รับความนิยมในใช้งานในภาคพื้นตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียนิยมใช้เทคโนโลยี GEPON
โครงสร้างสถาปัตยกรรมของเทคโนโลยี FTTx x แสดงถึงรายละเอียดในเชิงโครงสร้างการวางโครงข่ายนั้น โดยแบ่งรูปแบบในการวางสถาปัตยกรรมคู่ใยแก้วนำแสงที่แตกต่างกันออกไปได้ 4 ประเภทคือ FTTN, FTTC, FTTB และ FTTH รายละเอียดตามตารางที่ 3