วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เทคโนโลยี FTTH

การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีจากโทรศัพท์ประจำที่เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ 
การเกิดเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่เมื่อเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ได้เข้ามาทดแทนบริการโทรศัพท์ประจำที่จนปัจจุบันคนไทยมีมือถือใช้กันเกือบทุกคน ขณะที่โทรศัพท์ประจำที่มีแต่ทรงกับทรุด รายได้หดลงเรื่อย ๆ ตามความล้าสมัยของเทคโนโลยีที่เริ่มตกยุคไปด้วยกัน ผู้ให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ทั่วโลกจึงเริ่มมองหาแหล่งรายได้ใหม่ นั่นคือการผันตัวมาให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งในยุคแรก ๆ เป็นการให้บริการผ่านโครงข่ายสายทองแดง และเมื่อตลาดเติบโตขึ้นก็มีการลงทุนขยายโครงข่ายอย่างต่อเนื่อง ดังเช่น ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในอีกด้านหนึ่ง ความเร็วในการให้บริการอินเทอร์เน็ตก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมที่วิ่งอยู่ที่ 56 Kbps ก็ปรับขึ้นเป็น 128, 256, 512 Kbps พร้อมกับศัพท์ใหม่ที่ผู้บริโภครู้จักนั่นคือคำว่า อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์ จนปัจจุบันความเร็วอินเทอร์เน็ตขั้นต่ำอยู่ที่ 4 Mbps และมีความเร็วที่ให้บริการสูงสุดในตลาดถึง 16 Mbps แล้ว

ข้อจำกัดของสายทองแดง 1. ความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ให้ได้สูงสุดอยู่ที่ 20 Mbps 2. ต้องใช้เงินลงทุนโครงข่ายสูงแต่ได้พื้นที่ให้บริการเท่าเดิม
เทคโนโลยีโครงข่ายไร้สายกับเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber Optic)
ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะมีการพัฒนาการจากการให้บริการโทรศัพท์ประจำที่ เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี IEEE 802.11x (Wireless LAN) หรือเทคโนโลยีโครงข่ายสื่อสารในลักษณะของเซลลูลาร์อย่างโครงข่าย 3G หรือ WiMAX ให้เป็นทางเลือกของการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูง แต่ก็ยังมีข้อจำกัดของการสื่อสารโดยผ่านทางคลื่นวิทยุความถี่ต่าง ๆ ของโครงข่ายสื่อสารไร้สาย โดยเฉพาะการจัดสรรช่องสัญญาณหรือแบนด์วิดท์ในการใช้งานที่ส่วนใหญ่จะถูกจัดสรรแบ่งให้กับผู้ใช้บริการรายอื่น ๆ โดยเฉพาะในกรณีของการใช้งานผ่าน hotspot สาธารณะ ทำให้อัตราความเร็วจริงในการบริโภคข้อมูลไม่สูงมากนัก ในส่วนของกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ยังนิยมใช้โทรศัพท์ในการสนทนา , การบริโภคข้อมูลข่าวสาร หรือการท่องอินเตอร์เน็ตยังคงเป็นแบบพื้น ๆ ซึ่งสาเหตุก็อาจจะเกิดจากขนาดของเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ PDA มีขนาดเล็ก, ขีดความสามารถของเครื่องลูกข่าย หรือโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีข้อจำกัด เช่น การโมดูแลตสัญญาณเพื่อส่งผ่านทางภาควิทยุ เป็นต้น นอกจากนี้การขยายตัวของแอปพลิเคชั่นการใช้งานบนโครงข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการบริโภคสื่อมัลติมีเดีย, รายการโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต (Internet TV หรือ IPTV) ที่ต้องการเสียงและภาพที่คมชัด, ความต้องการการให้บริการแบบปฏิพันธ์ (Interactive) ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ให้บริการได้ รวมถึงติดต่อสื่อสารในโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารหลากหลายชนิดได้พร้อมกันทำให้แนวโน้มความต้องการในแบนด์วิดท์สูงขึ้นเกินกว่าขีดจำกัดของคู่สายโทรศัพท์แบบทองแดงรายละเอียดการคำนวณดังตารางที่ 2

พัฒนาการของเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) สู่ FTTH

จากตารางที่ 2 จะเห็นได้ชัดว่าแนวโน้มของความต้องการใช้แบนด์วิดท์ในอนาคตต้องการสูงถึง 31.6 Mbps ซึ่งเกินจากความสามารถของสายทองแดงที่มีความเร็วได้สูงสุดแค่ 20 Mbps เท่านั้น ทำให้เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เป็นตัวกลางในการรับส่งสัญญาณไปยังผู้ใช้บริการ

การวางรูปแบบ FTTH ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

ทำหน้าที่รับสัญญาณจากแหล่งต้นทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณโทรศัพท์ที่ถูกส่งแบบมัลติเพล็กซ์ (Time Division Multiplexing) มาจากชุมสายโทรศัพท์และมีโพรโทคอล GR-303 ที่กำกับควบคุมทราฟฟิคข้อมูลสัญญาณโทรศัพท์ระหว่างชุมสายโทรศัพท์กับอุปกรณ์ OLT นอกจากนี้อุปกรณ์ OLT ยังทำการติดต่อกับเราท์เตอร์ซึ่งทำหน้าที่รวมสัญญาณที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายอินเทอร์เน็ตหรือแม้กระทั่งเครือข่าย WAN เฉพาะกิจต่างๆ โดยผ่านทางโพรโทคอล Gigabit Ethernet (GigE) และในท้ายที่สุดหากมีการให้บริการโทรทัศน์หรือรายการแบบมัลติมีเดียใดๆ อุปกรณ์ OLT ก็จะได้รับการเชื่อมต่อเข้ากับสื่อสัญญาณโทรทัศน์ โดยผ่านทางโพรโทคอลมาตรฐานเช่น MPEG over IP สัญญาณต่างๆ เหล่านี้จะถูกรวมส่งผ่านคู่สายใยแก้วนำแสงซึ่งมีการบริหารจัดการข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี PON ไม่ว่าจะเป็น GPON หรือ EPON เพื่อให้สามารถส่งกระจายช่องสัญญาณไปยังผู้ใช้บริการได้ตามต้องการ
2) อุปกรณ์ ONU หรือ ONT ที่ติดตั้งอยู่ตามที่พักอาศัยหรือสำนักงานของผู้บริโภค ทำหน้าที่แยกประเภทของสัญญาณข้อมูล (เสียง, ข้อความ, ภาพ) ออกตามประเภทของการเชื่อมต่อ เช่น เสียงออกทางสายนำสัญญาณโทรศัพท์แบบ POTS (Plain Old Telephone Service) หรือสายโทรศัพท์แบบทองแดงนั่นเอง ส่วนข้อมูลต่างๆ จะถูกเชื่อมต่อผ่านทางพอร์ตแบบ 10/100/1000 Base T หรือสาย LAN ที่รู้จักกันทั่วไป ในขณะที่สัญญาณภาพหรือรายการโทรทัศน์จะถูกเชื่อมต่อผ่านไปยังกล่องควบคุม Set Top Box
ที่มา : http://www.telecomjournal.net/telecomjournal.net

ผู้ให้บริการที่ใช้เทคโนโลยี FTTx ในประเทศไทย
1) กลุ่ม Thai COLT กลุ่ม Thai COLT (Thailand Collaborative Optical Leading Testbed)
    เป็นการจัดตั้งระหว่างบริษัทฟรีอินเตอร์เน็ต, บริษัทไซน์คอร์ป (Scicorp), บริษัทเซนโค (SENKO Adv. Australia), บริษัทซีออส (CEOS), บริษัทวีวาโฟโตนิกส์ (VIVA Photonics), บริษัทเรดเซ็นเตอร์ (Redcenter) และบริษัทวีพีเอ็น (VPN; Victorian Photonics Network) เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี FTTH (Fibre To The Home) รวมทั้งการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ และถือเป็นรายแรกที่เป็นเจ้าของสิทธิ์การทำตลาด และเป็นผู้ให้บริการ (โอเปอเรเตอร์) รายแรกในประเทศไทย
หลักการให้บริการคือการเดินสายเคเบิลใยแก้วเพียงเส้นเดียวเข้าไปยังพื้นที่หรืออาคารสำนักงานหรือบ้านพักอาศัย ต่อเข้าไปยังเซ็ตท็อปบ็อกซ์ หลังจากนั้นสามารถกระจายไปยังอุปกรณ์ปลายทางเพื่อใช้บริการได้มากกว่า 1 ประเภท เช่นสามารถดูหนังที่จุดที่หนึ่ง เล่นอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่จุดที่สอง เล่นเกมออนไลน์ที่จุดที่สาม รวมถึงสามารถใช้บริการโทรศัพท์ได้ด้วย โดยในแง่การวางสายเคเบิลสามารถทำได้ในลักษณะไม่ว่าจะเป็นพันธมิตรหรือการเช่าใช้จากหน่วยงานที่มีสายเคเบิลใยแก้วอยู่แล้วไม่ว่าบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น หรือการไฟฟ้านครหลวง
     ความเร็วในการให้บริการ
     
เริ่มตั้งแต่ 100 ถึง 1,000 Mbps หรือเร็วกว่า ADSL 400 เท่า
     แผนการให้บริการ
     
ราวไตรมาส 3 ปีนี้ (2553) จะให้บริการด้านอินเทอร์แอ็กทีฟกับสื่อโฆษณาขนาดใหญ่ เพื่อแสดงให้เห็นศักยภาพเทคโนโลยี และมีแผนเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 4 ปีนี้ ซึ่งบริการที่จะเปิดในช่วงแรกจะเป็นด้านการสื่อสารข้อมูล ในลักษณะอินเตอร์แอ็กทีฟ แต่เทคโนโลยี FTTH ที่มีให้บริการในประเทศออสเตรเลียและญี่ปุ่นแล้วนั้น สามารถให้บริการได้หลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นวิดีโอออนดีมานด์ เปย์ทีวี โทรศัพท์พื้นฐาน โฮมเอนเตอร์เทนเมนต์ ใช้ในทางการแพทย์อย่าง e-Health (Telemedicine) โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล เพียงแต่มีอุปกรณ์ที่สามารถส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ FTTH ได้ก็เพียงพอ
     กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
    
ในช่วงแรกของการให้บริการจะมุ่งลูกค้าองค์กร สถานศึกษา บริการสื่อสารข้อมูลในลักษณะอินเตอร์แอ็กทีฟ บริการ e-Learning

ที่มา : ผู้จัดการ

2) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
   
คุณ ศิโรตม์ รัตนามหัทธนะ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายองค์กร บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า เทคโนโลยี FTTx จะเป็นตัวเลือกใหม่ของการให้บริการอินเทอร์เน็ต เนื่องจากสามารถให้ความเร็วได้สูงแทบไม่จำกัดคือตั้งแต่ 10 Mbps-10 Gbps (สูงถึง 1 Tbps ในอนาคต) แถมมีอายุการใช้งานของสายไฟเบอร์ออปติกนานเป็นสิบ ๆ ปี เทียบตัวอย่างง่าย ๆ หากดาวน์โหลดหนังเรื่อง Braveheart ถ้าใช้เทคโนโลยี ISDN ความเร็ว 128 Kbps จะใช้เวลา 20 ชั่วโมง หากใช้เทคโนโลยี DSL ความเร็ว 1 Mbps ใช้เวลา 2.5 ชั่วโมง แต่หากใช้ FTTx จะใช้เวลา 4 วินาทีเท่านั้น
     แผนการลงทุน
     
กสท. มีโครงการลงทุนโครงข่าย FTTx ในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี หรือเรียกว่า "กรุงเทพฯ+3" ใช้เงินลงทุนทั้งหมด 6,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี จาก 2553-2555 โดยจะสามารถรองรับผู้บริโภคได้ถึง 400,000 ครัวเรือน ซึ่งขณะนี้คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการแล้วเมื่อ 27 เม.ย. 2553 ที่ผ่านมา และกำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุง TOR ซึ่งคาดว่าในอีก 2-3 เดือนจะสามารถประมูลได้และเริ่มให้บริการได้ตั้งแต่ต้นปี 2554"
     กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
     
กสทฯ จะทำตลาดเน้นในเรื่องบริการ triple play นั่นคือ ลูกค้าสามารถใช้ทั้งอินเทอร์เน็ต บริการเสียงและดูทีวีผ่านอินเทอร์เน็ตได้เลย โดยเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน เพราะการให้บริการในช่วงแรกราคายังถือว่าแพงอยู่
     โปรโมชั่น
     
แบ่งโปรโมชั่นในการให้บริการ 2 ระดับคือ - จ่าย 1,500 บาท/เดือน ได้ความเร็ว 20 Mbps - ราคา 5,000 บาท/เดือน ได้ความเร็ว 100 Mbps
ที่มา : http://www.greatnote.com/blog/2010/04/05/359/

3) TOT
   
ทีโอที จับมือ ผู้แทนกิจการร่วมค้าอิตาเลี่ยนไทย ดีเวลอปเมนท์ จำกัด และสยามไฟเบอร์ออฟติค เพื่อร่วมกันพัฒนาประสิทธิภาพบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet) วางเคเบิลใยแก้วนำแสงคุณภาพสูง FTTx ในพื้นที่จังหวัดภูเภ็ต เพื่อรองรับการให้บริการได้ถึง 1 Gb/s.
     แผนการลงทุน
     
“นายวิศิษฐ์ กล่าวว่า สำหรับการลงทุนไฟเบอร์ออฟติกในส่วนนครหลวง ปีนี้ทีโอทีมีงบลงทุนอยู่ที่ประมาณ 150 ล้านบาท แบ่งออกเป็นการลงทุนโครงการดังกล่าว 25 ล้านบาท และที่เหลืออีก 125 ล้านบาท จะไปลงทุนติดตั้งไฟเบอร์ออฟติก กับ หมู่บ้านสัมมากร (รามคำแหง) คอนโด ไอดีโอ 3 โครงการ และ คิวเฮาท์ คอนโดฯ ก่อนหน้านี้ ทีโอทีได้ใช้งบประมาณ ลงทุน 200 ล้านบาท วางระบบโครงข่ายเส้นใยแก้วนำแสง หรือ ไฟเบอร์ออฟติก (FTTX) นำร่องเปิดให้บริการ ไฟเบอร์ ทูยู (Fiber 2U) ทั่วจังหวัดภูเก็ต โดยในระยะแรกทีโอทีจะให้บริการความเร็ว 10 เมกะบิต ในราคา 8,600 บาท และ 20 เมกะบิต ในราคา 15,000 บาท 30 เมกะบิต ราคา 22,000 บาท และคาดว่า จะสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 3 ปี 7 เดือน ซึ่งเฉลี่ยแล้ว ทีโอที ต้องมีรายได้จากบริการดังกล่าวประมาณ 50 -60 ล้านบาท นอกจากนี้ ทีโอที ยังวางโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติก ที่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ชลบุรี พัทยา หัวหิน มาบตาพุด จังหวัดระยองโดยพื้นที่ให้บริการส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือเป็นนิคมอุตสาหกรรม ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและต้องการความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล”

ที่มา : ASTV ผู้จัดการออนไลน์


     กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
    
มุ่งเน้นบริการลูกค้าระดับบนที่มีรายได้ค่อนข้างสูง หรือระดับ Premium เช่น ลูกค้ากลุ่มธุรกิจโรงแรม กลุ่มผู้รับชมเคเบิลทีวีท้องถิ่น ประมาณ 4,000 ราย นอกจากนั้นจะเป็นกลุ่มลูกค้าชาวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวและประกอบธุรกิจภายในประเทศ และรองรับโครงการ IT City ในจังหวัดภูเก็ต โดยบริการที่รองรับนอกจากอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงปกติแล้ว ยังสามารถใช้บริการรับชมเคเบิลทีวีในแบบความละเอียดสูง หรือ HDTV รวมถึง IPTV และการซื้อภาพยนตร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่กำลังเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งในและต่างประเทศ

ที่มา : http://www.newswit.com/news/2008-01-23/1045-fttx-broadband/

4) ทรูออนไลน์
   
ทิศทางทรูออนไลน์ในปีนี้ เปิดแผนลงทุนขยายเครือข่าย 2,500 ล้านบาท รุกหนักต่างจังหวัด หลังตลาดกรุงเทพฯเริ่มอิ่มตัว พร้อมให้บริการแบบอัลตร้า ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต ที่ความเร็วสูงถึง 100 เมกะบิตรองรับเว็บ 3.0 ตั้งเป้าลูกค้าเพิ่ม 3 แสนราย วิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการ ทรูออนไลน์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปีนี้ทรูออนไลน์มีแผนจะลงทุนเพิ่มจำนวน 2,500 ล้านบาท เพื่อขยายโครงข่ายเพิ่มพื้นที่ให้บริการครอบคลุมหัวเมืองใหญ่ทั่วประเทศ รองรับการขยายตัวของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์ได้ถึง 1.7 ล้านราย พร้อมกันนี้ ยังจะหาบริการใหม่ๆ เพื่อรักษาฐานลูกค้าให้ใช้บริการในระยะยาว เพราะทรูออนไลน์มีเป้าหมายที่จะขยายฐานสู่กลุ่มลูกค้าระดับบน และลูกค้ากลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มการใช้งานด้านการรับส่งข้อมูลเพิ่มสูงขึ้น โดยจะให้บริการแบบอัลตร้า ไฮสปีด อินเทอร์เน็ต ที่ระดับความเร็ว 30-100 เมกะบิต ในกลุ่มคอนซูเมอร์ รองรับเว็บ 3.0 แต่ตลาดตรงนี้เชื่อว่าจะยังมีไม่มาก เพราะค่าบริการยังสูง แต่ปีหน้าคาดว่าจะเริ่มลดลง ส่วนฐานลูกค้าปีนี้ตั้งเป้าไว้ที่ 3 แสนราย จากปีที่ผ่านมาที่มีฐานลูกค้าประมาณ 7 แสนราย
ที่มา : http://www.telecomjournal.net/
บทสรุป
    
จากพัฒนาการต่าง ๆ ของเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีโทรศัพท์ประจำที่, เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่, เทคโนโลโยการสื่อสารไร้สาย หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยี FTTx หากการติดต่อสื่อสารไปยังโครงข่ายภายนอกประเทศยังต้องผ่าน Gateway ของ TOT จะยังคงทำให้อัตราความเร็วยังมีข้อจำกัดอยู่เหมือนเดิม แต่ถ้านำมาใช้สำหรับการส่งข้อมูลภายในประเทศ เช่น Local Cable TV หรือ Local VDO On demand ก็จะสามารถใช้ความเร็วได้อย่างเต็มที่

Free TextEditor

1) OLT (Optical Line Terminal)

จากการเปลี่ยนแปลงการใช้โทรศัพท์ประจำที่เป็นการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ และการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย ที่มีข้อจำกัดในเรื่องต่าง ๆ ในข้างต้น ทำให้เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) มาใช้เป็นตัวการในการรับส่งข้อมูลแบบดิจิทัล โดยมีการเปลี่ยนตัวนำสัญญาณจากเดิมที่เป็นสายนำสัญญาณแบบเคเบิ้ลหรือคลื่นวิทยุไมโครเวฟระหว่างชุมสายโทรศัพท์ (Inter-Exchange link) มาเป็นใยแก้วนำแสง ซึ่งมีต้นทุนและความคุ้มทุนที่ประหยัดกว่าการใช้ตัวนำสัญญาณชนิดอื่น แต่เมื่อมองถึงการเปลี่ยนประเภทตัวนำจากชุมสายไปยังอาคารบ้านเรือนหรือสำนักงานธุรกิจของผู้บริโภค ซึ่งเดิมเป็นคู่สายโทรศัพท์ทองแดงไปเป็นสายนำสัญญาณแบบใยแก้วนำแสง ก็พบว่ามีต้นทุนสูงมากรายละเอียดตามสัดส่วนดังต่อไปนี้ - งานทางด้านโยธา เช่น การขุดดิน การวางสาย    53% - งานทางด้านการทำ Coupling และ Splitter หรือการกระจายคู่สายใยแก้วนำแสง 20% - ค่าสายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) 10% - อื่น ๆ 17% จากสัดส่วนต้นทุนดังกล่าวข้างต้นจะเห็นว่า หากสามารถลดต้นทุนในการวางคู่สายในส่วนของงานทางด้านโยธา และงานด้านการทำ Coupling และ Splitter ลงไปได้จะทำให้ถึงจุดคุ้มทุนที่เร็วขึ้น โดยการวางคู่สายให้น้อยลง (ต้นทุนต่ำ) แต่รองรับผู้ใช้งานได้เป็นจำนวนมาก (รายได้สูง) จึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลผ่านใยแก้วนำแสงมาสู่ยุคของ FTTH
เข้าสู่ยุค FTTH FTTH หรือ Fiber to the home เป็นแนวทางในการให้บริการรับส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงผ่านใยแก้วนำแสงไปยังบ้านเรือนหรืออาคารธุรกิจ ซึ่งผู้ให้บริการ FTTH นั้นอาจเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคม หรือเป็นองค์กรอื่นๆ ก็ได้ โดยมุ่งเน้นการวางคู่สายจำนวนน้อย แต่รองรับผู้ใช้งานได้เป็นจำนวนมาก เทคโนโลยีการรับส่งสัญญาณผ่านบริการ Fiber to the home นั้นทำได้หลายประเภท แต่ที่ได้รับความสนใจนำไปลงทุนกันในปัจจุบันก็คือการใช้เทคโนโลยี Passive Optical Network (PON) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบหนึ่งจุดไปยังหลายๆ จุด (Point-to-Multipoint) ช่วยประหยัดต้นทุนในการวางคู่สายใยแก้วนำแสงได้มากที่สุด เทคโนโลยี PON ได้รับความสนใจพัฒนาข้อกำหนดมาตรฐานโดยหน่วยงานและสำนักงานมาตรฐานทางโทรคมนาคมระดับโลก ทั้ง ITU (International Telecommunication Union) และ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ก่อให้เกิดข้อกำหนดมาตรฐาน PON ให้เลือกใช้หลากหลายมาตรฐาน ดังนี้

1. ข้อกำหนด ITU-T G.983
   
    ♦ มาตรฐาน APON (ATM Passive Optical Network)
      
       - เป็นมาตรฐาน PON แรกของโลก ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานของภาคธุรกิจ
     
       - รูปแบบการจัดโครงสร้างข้อมูลที่ถูกรับส่งผ่านวงจรใยแก้วนำแสงตามมาตรฐานสื่อสารแบบ ATM (Asynchronous Transfer Mode)
    
♦ มาตรฐาน BPON (Broadband PON)       
       - เป็นมาตรฐานที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดจาก APON โดยเพิ่มขีดความสามารถในการรับส่งข้อมูลแบบ WDM (Wavelength Division Multiplex) ช่วยเพิ่มแบนด์วิดท์ในการรับส่งข้อมูล จากผู้ใช้บริการกลับไปยังโครงข่าย
     
      
- ในมาตรฐาน BPON นี้ยังมีการกำหนดจุดเชื่อมต่อมาตรฐานมีชื่อว่า OMCI (ONT Management and Control Interface) ขึ้นระหว่างอุปกรณ์ OLT กับ ONU/ONT เพื่อใช้ในการบริหารจัดการจุดเชื่อมต่อ โดยเป็นมาตรฐานกลาง ทำให้ผู้ให้บริการโครงข่ายสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ของผู้ผลิตรายใดก็ได้

2. ข้อกำหนด ITU-T G.984
   
    ♦ มาตรฐาน GPON (Gigabit PON)
      
- เป็นพัฒนาอีกขั้นหนึ่งที่สูงกว่า BPON
      
- รองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่สูงขึ้น       
       - มีกลไกรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่ดีกว่า
      
       - มีการกำหนดตัวเลือกในการรับส่งข้อมูลในระดับชั้นโพรโทคอลชั้นที่ 2 (OSI Layer 2 protocol) ได้ทั้งแบบ ATM, GPON Encapsulate Method (GEM) และอีเธอร์เน็ต ถือเป็นมาตรฐาน PON ที่โดดเด่นและมีแนวโน้มในการนำไปใช้งานในเชิงธุรกิจมากที่สุด


3. ข้อกำหนด IEEE 802.3ah
   
   ♦ มาตรฐาน EPON (Ethernet PON) หรือ GEPON
     
- เป็นข้อกำหนดมาตรฐานจากค่าย IEEE ของสหรัฐอเมริกา
     
- ใช้ปรัชญาการรับส่งข้อมูลในรูปแบบของเฟรมข้อมูลอีเธอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันข้อกำหนด IEEE 802.3ah ได้รับการบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของอนุกรมข้อกำหนด IEEE 802.3 ถือเป็น PON อีกมาตรฐานหนึ่งที่เป็นคู่แข่งขันกับมาตรฐาน GPON ของค่ายยุโรป

4. ข้อกำหนด IEEE 802.3av
   
♦ มาตรฐาน 10GEPON (10 Gigabit Ethernet PON)
      
- เป็นมาตรฐานที่กำลังได้รับการพัฒนาต่อยอดจาก EPON
      
- มุ่งออกแบบให้มีการแยกลำแสงที่ส่งภายในคู่สายใยแก้วนำแสง เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถแยกการรับข้อมูลด้วยอัตราเร็ว 10 กิกะบิตต่อวินาที และ 1กิกะบิตต่อวินาทีออกจากกัน
      
- ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการวางข้อกำหนด  ในปัจจุบันเทคโนโลยี GPON ได้รับความนิยมในใช้งานในภาคพื้นตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียนิยมใช้เทคโนโลยี GEPON
โครงสร้างสถาปัตยกรรมของเทคโนโลยี FTTx x แสดงถึงรายละเอียดในเชิงโครงสร้างการวางโครงข่ายนั้น โดยแบ่งรูปแบบในการวางสถาปัตยกรรมคู่ใยแก้วนำแสงที่แตกต่างกันออกไปได้ 4 ประเภทคือ FTTN, FTTC, FTTB และ FTTH รายละเอียดตามตารางที่ 3

1 ความคิดเห็น: